Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14521
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ ที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Effects of using a concept formation model in organizing mathematics activities on mathematical concepts and learning retention of fifth grade students in Bangkok |
Authors: | ปราณี พรภวิษย์กุล |
Advisors: | สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | usuwattana@chula.ac.th |
Subjects: | ความคิดรวบยอด คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) ความจำ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ 2)เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ และกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างหลุ่มที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ และกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพลับพลาชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2549 จำนวน 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 44 คน ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ และกลุ่มควบคม 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 44 คน ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าสถิติด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ต่ำกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการคือ สูงกว่า 50% ของคะแนนที่ได้รับจากแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับโดยการจัดกิจกรรมการเรียนสอนโดยใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการจิดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนชั้นประภมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลการสร้างมโนทัศน์ มีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1. To study mathematics concepts of fifth grade students being taught by organizing mathematics activity using concept formation model; 2. to compare mathematics concepts of fifth grade students between groups being taught by organizing mathematics activity using a concept formation model and being taught by organizing mathematics activity using conventional approach; 3. to compare mathematics learning reterning retention of fifth grade students between groups being taught by organizing mathematics activity using a concept formation model and being taught by organizing mathematics activity using conventional approach. The subjects were fifth grade students in academic year 2006 in Plubplachai Primary School, Bangkok. They were divied into two groups, one experimental group and one controlled group with 44 students. Students in experimental group were taught by organizing mathematics activity using a concept formation model and those in controlled group were taught by organizing mathematics activity using conventional approach. The research instruments were the mathematics concept tests and the mathematics learning achivement test. The data were analyzed by means of arithmetic means, mean of percentage, standard deviation and t-test. The results of this study were as follows 1. Mathematics concepts of fifth grade students being taught by organizing mathematics activity using a concept formation model were higher than minimum criteria of 50%. 2. Mathematics concepts of fifth grade students being taught by organizing mathematics activity using a concept formation model were higher than those of students being taught by organizing mathematics activity using conventional approach at 0.05 level of significance. 3. Mathematics learning retentions of fifth grade students being taught by organizing mathematics activity using a concept formation model were higher than those of students being taught by organizing mathematics activity using conventional approach at 0.05 level of significance. |
Description: | วิทยนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14521 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.703 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.703 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pranee.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.