Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14709
Title: การประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ : ศึกษาเฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่ใช้ในสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย
Other Titles: Liability insurance of multimodal transport operator : in matter of liability insurance policy used by Thailand International Freight Forwarders Association
Authors: สวรส สุวรรณวัฒน์
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
จุฬา สุขมานพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chayanti.G@chula.ac.th
Subjects: การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
ความรับผิด (กฎหมาย)
ประกันภัย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) คือ การขนส่งที่ประกอบด้วยรูปแบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป โดยผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operator : MTO) เป็นผู้เดียวที่เข้าทำสัญญาโดยตรงกับผู้ใช้บริการและเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เมื่อพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 ประกาศใช้ ได้มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องต้องมีหลักประกันเพื่อประกันภัยความรับผิดตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตลอดจนความเสี่ยงอื่นใดจากสัญญาที่ได้ทำขึ้น และให้ดำรงหลักประกันนั้นตลอดระยะเวลาที่ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในประเทศไทย เพื่อสร้างมาตรฐานการจัดการที่ดีและเพิ่มศักยภาพของสมาชิก สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย (Thailand International Freight Forwarders Association : TIFFA) จึงได้จัดหาหลักประกันความรับผิดตามที่พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 กำหนด โดยสมาคมฯ และบริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันแก้ไขกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่มีอยู่เดิมซึ่งมุ่งเน้นประโยชน์ในแง่การตลาด หรือเป็นเพียงการโอนภาระการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปยังผู้รับประกันภัย มิได้มุ่งหวังให้เกดการชดใช้ที่เป็นธรรม โดยปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 เพื่อให้ระบบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ได้มีการการออกกรมธรรม์เพื่อประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วยกัน 2 รูปแบบ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับการประกอบการของตน ซึ่งกรมธรรม์ดังกล่าวได้รับอนุมัตินายทะเบียน ตามกฎหมายประกันวินาศภัย และนำออกทำสัญญาประกันภัยความรับผิดในระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบแล้ว จากการศึกษาวิจัยพบว่ากรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่ใช้ในสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้ง 2 รูปแบบจะกำหนดเงื่อนไขการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 และจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการในระดับหนึ่งว่าจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหาย แต่ควรกำหนดจำนวนความรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้ครอบคลุมข้อจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 ด้วย เพื่อให้การใช้หลักประกันภัยความรับผิดโดยกรมธรรม์สามารถเยียวยาความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: The term "multimodal transport" means the carriage of goods by at least two different modes of transport where the multimodal transport operator (MTO) is the only one who directly makes an agreement with the consignor and undertakes to be responsible for losses or damages arising from any engagement pursuant to the agreement. Since Multimodal Transport Act 2005 has entered into force, it is compulsory that the MTO has a guarantee for the liability in accordance with multimodal transport agreement as well as any risk pertaining to the agreement. In addition, such guarantee needs to be maintained as long as he remains in multimodal transport business in Thailand. In order to set a management quality standard and increase the potentials of its members, Thailand International Freight Forwarders Association: TIFFA made attempts to provide the guarantee required by the Act of Parliament. TIFFA, in cooperation with Chubb Insurance (Thailand) Co.,Ltd., considered the revision of the liability insurance policies available in the market before the entry into force of the Act, most of which had mainly focused on marketing value for the operators – only transferring the obligation to indemnify those suffered from loss or damage to the insurer without taking into account of fair compensation. The improved liability insurance policies correspond with the criteria set out by the Act and make the system of indemnity efficient. Two forms of policy to insure the liability of multimodal transport operator were drafted and they provide an opportunity for MTO to choose the form suitable for its own operations. Those policies have been approved by the registrar under the laws of General Insurance and available for offering coverage in multimodal transport system. As per research, it is found that although two forms of liability insurance policy initiated TIFFA manage to specify the provisions of indemnity conformable to the criteria of multimodal transport operator's liability in accordance with the Multimodal Transport Act and can give assurance to the consignor or consignee that he can obtain the indemnity in case of losses and damages, the amount of insurance should be fixed in a way that will sufficiently cover the limit of the liability of MTO according to the Act so that the objective to effectively remedy the consignor or consignee will fully be met.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14709
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.901
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.901
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawaros_Su.pdf20.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.