Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14751
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการรีแฟคทอริงกับคุณภาพซอฟต์แวร์โดยใช้มาตรวัดเชิงวัตถุ
Other Titles: A relationship between refactoring and software quality using object-oriented metrics
Authors: ศิรธันย์ ศุภธนะรัตน์
Advisors: อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: assadaporn@acc.chula.ac.th, Assadaporn.S@Chula.ac.th
Subjects: ซอฟต์แวร์รีแฟคทอริง
การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์
วิธีเชิงวัตถุ (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ซอฟต์แวร์ -- การวัด
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ เพื่อ (1) เปรียบเทียบคุณภาพซอฟต์แวร์ของซอร์สโค้ดก่อนทำกระบวนการรีแฟคทอริงกับซอร์สโค้ดหลังทำกระบวนการรีแฟคทอริงในแต่ละวิธี (2) เปรียบเทียบคุณภาพซอฟต์แวร์จากซอร์สโค้ดที่ผ่านกระบวนการรีแฟคทอริง 1 วิธีกับซอร์สโค้ดที่ผ่านกระบวนการรีแฟคทอริง 2 วิธี และ (3) เปรียบเทียบคุณภาพซอฟต์แวร์ของซอร์สโค้ดที่ผ่านกระบวนการรีแฟคทอริง 2 วิธีที่มีการสลับลำดับกัน ซึ่งคุณภาพซอฟต์แวร์คือ ความสามารถในการบำรุงรักษา (Maintainability) ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability) และความสามารถในการทำความเข้าใจ (Understandability) โดยใช้มาตรวัดเชิงวัตถุของ Chidamber และ Kemerer (1994) 6 มาตรวัด มาตรวัดเชิงวัตถุของ Lorenz และ Kidd (1994) มาตรวัด มาตรวัดเชิงวัตถุของ Abreu (1996) 6 มาตรวัด และมาตรวัดคอมเมนต์เปอร์เซ็นต์เทจ 1 มาตรวัด (Rosenberg และ Hyatt, 1995) งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งหน่วยทดลองที่นำมาใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ผลงานการโปรแกรมของนิสิตปริญญาบัณฑิตที่ผ่านการเรียนวิชาพื้นฐานการโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object – Oriented Programming Foundation) โดยผู้วิจัยได้กำหนดให้ผลงานที่นำมาเป็นหน่วยทดลองต้องเป็นโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีชาร์ป (C#) ที่เป็นการประยุกต์เชิงธุรกิจและต้องมีจำนวนคลาสภายในตั้งแต่ 5 คลาสขึ้นไป ซึ่งมีหน่วยทดลองที่สามารถนำมาใช้ในการวิจัยได้ทั้งหมด 32 หน่วยทดลอง ผลการวิจัยพบว่า การนำกระบวนการรีแฟคทอริงมาใช้ในซอร์สโค้ดที่ถูกพัฒนาโดยวิธีการเชิงวัตถุ ทำให้คุณภาพซอฟต์แวร์ดีขึ้นไม่ว่าจะทำกระบวนการรีแฟคทอริง 1 วิธีหรือ 2 วิธีแต่การสลับลำดับการนำกระบวนการรีแฟคทอริงไปใช้ไม่ทำให้คุณภาพซอฟต์แวร์แตกต่างกัน
Other Abstract: The objective of this research is (1) to compare the software quality of source code before refactoring and source code after refactoring; (2) to compare the software quality of source code under one refactoring method and source code under two refactoring methods; (3) to compare the software quality of source code under two refactoring method and source code under the same two refactoring methods in different order. The software quality in focus is maintainability, reusability and understandability through 6 Chidamber and Kemerer’s metrics (1994), 1 Lorenz and Kidd’s metric (1994), 6 MOOD metrics by Abreu (1996) and 1 CommentPercentage metric (Rosenberg and Hyatt, 1995). This research is an experimental research. Subjects in the study are the assigned projects to undergraduate students in Object-Oriented Programming Foundation class. The subjects are all business applications with at least 5 classes and developed by C# language. There were 32 sample units. The results indicate that one or two refactoring methods used can improve software quality. However, the order of applying refactoring methods shows no effect to the software quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14751
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1174
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1174
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirathan_Su.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.