Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14777
Title: การสื่อสารระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในชุมชนรูสะมิแล จ. ปัตตานี ในช่วงระหว่างวิกฤตการณ์ความรุนแรงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Communication between Thai Buddists and Thai Muslim in Rusamilae Community Pattani Province in the period of crisis of the 3 southernmost province
Authors: อาทิตยา เที่ยงวงษ์
Advisors: เมตตา วิวัฒนานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Metta.V@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารกับวัฒนธรรม
ชาวไทย -- ไทย (ภาคใต้)
ชาวไทยมุสลิม -- ไทย (ภาคใต้)
ไทย (ภาคใต้) -- ปัญหาและข้อพิพาท
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการสื่อสารระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในช่วงระหว่างวิกฤตการณ์ความรุนแรงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่ามีลักษณะการสื่อสารกันอย่างไร ปัญหาและปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการสื่อสารระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม และการรับรู้สถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมเป็นอย่างไร การวิจัยนี้เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามกับชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ที่อาศัยอยู่ในชุมชนรูสะมิแล จ.ปัตตานี จำนวน 200 คน ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชน และนักวิชาการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวน 4 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ยังมีการทำงานร่วมกันอยู่เป็นประจำ ชาวไทยพุทธระบุว่ามีการประชุมร่วมกันค่อนข้างมาก และมีการไปมาหาสู่กันบ้าง ในระดับค่าเฉลี่ยสูงกว่าที่ชาวไทยมุสลิมระบุ แต่ในส่วนของการไปร่วมงานพิธีต่างๆ การทำกิจกรรมในพื้นที่ และการพบปะหรือปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนต่างศาสนา รวมถึงการแก้ปัญหาหรือดำเนินนโยบายต่างๆ และการทำงานร่วมกันกับกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน ชาวไทยพุทธระบุการเข้าร่วมอยู่ในระดับต่ำกว่าชาวไทยมุสลิม 2. กลุ่มตัวอย่างในแบบสอบถาม มีการระบุปัญหาและอุปสรรคในด้านความรู้ ความเข้าใจ (cognitive) คือ ความไม่เข้าใจภาษาและวัฒนธรรม แต่ไม่มีการระบุปัญหาและอุปสรรคด้านทัศนคติและความรู้สึก (affective) และด้านพฤติกรรม ยกเว้นความรู้สึกไม่ดีหากเพื่อนต่างศาสนากระทำสิ่งที่ขัดต่อวัฒนธรรมของตน และทั้งสองฝ่ายมักจับกลุ่มร่วมกับคนศาสนาเดียวกันมากกว่าคนต่างศาสนา 3. ผลจากแบบสอถามพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในระดับสูง ได้แก่ ความภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทย และพบปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการสื่อสารอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นบทบาทของสื่อมวลชน ซึ่งพบว่ามีผลอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง ในขณะที่ผลการสัมภาษณ์พบว่า กฎหมายหรือนโยบายของรัฐไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตร่วมกัน และการนำเสนอข่าวสารในพื้นที่ภาคใต้ ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงและความไม่สงบในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้นำชาวไทยมุสลิม มีความเห็นว่า การนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน ทำให้ทัศนคติระหว่างกันเป็นไปในทางลบมากยิ่งขึ้น 4. ชาวไทยพุทธรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคนสองศาสนาในช่วงระหว่างวิกฤตการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในสภาวะที่แย่ลง และเห็นว่าควรปรับปรุงหรือสร้างความสัมพันธ์ในระดับชาวบ้านระหว่างชาวบ้านไทยพุทธกับชาวบ้านไทยมุสลิมมากที่สุด ในขณะที่ชาวไทยมุสลิมรับรู้ว่าสถานการณ์อยู่ในสภาวะปกติ และเห็นว่า ควรพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆมากที่สุดในชุมชนมากที่สุด ในขณะที่ผลจากการสัมภาษณ์พบว่าผู้นำชุมชนทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม เห็นว่าแม้คนต่างศาสนายังสามารถพูดคุยกันตามปกติแต่เป็นปฏิสัมพันธ์ในทางกายภาพ แต่ในส่วนของความสัมพันธ์เชิงจิตภาพเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความคุ้นเคยและไว้วางใจร่วมกันพอสมควร.
Other Abstract: This thesis focuses on channels and forms of communication between Thai Buddhists and Thai Muslims in Rusamilae Community, Pattani Province, problems and factors affecting their communication and how they perceive exising crisis and communication situation during the crisis of the 3 southemmost provinces. Survey questionnaires are distributed to 200 Thai Buddhists and Thai Muslims, and in-depth interview with four commnity leaders are conducted. The results are as follow 1) Both Thai Buddhists and Thai Muslims still cooperate in working as usual. Thai Buddhists show higher frequency of attending a meeting with and visiting Muslim colleagues than Thai Muslims, but show lower frequency of joining in religious ceremonies, and community activities, discussing with religious leaders, working and joining with other groups in the same community. 2) Questionnaire respondents specify mainly cognitive obstacles: no understanding in language and culture, but specify no affective and behavioral obstacles, except that they will feel bad if their colleague of different culture violate their cultural norms and rules. However, it is also found that both Thai Buddhists and Muslims prefer to stay in a same-culture group. 3) The factor which is found to have an effect on their communication at a high level is people's pride of being a Thai, and the rest of the factors are found to have an effect at a low level, except the role of mass media, which is found to have an effect at a low to medium level. From the interview, legal action and government's political policies have no effect on their interaction with people of different religion and culture, nor do mass media to play a role in strengthening violence and chaos in the provinces under crisis. However, both perceive that mass media's news presentation increases more negative attitude towards one another. 4) Most Thai Buddhists perceive that the relationship between Thai Buddhists and Thai Muslims is getting worse and interpersonal relationship between Thai domestic Buddhists and Muslims should be improved. On the other hand, most Thai Muslims perceive that the present situation is normal and intergroup relationship among various community groups should be improved. However, from the interview both Thai-Buddhist, and Thai-Muslim leaders perceive that in spite of their "physical relationship", "mental or affective relationship" is very sensitive and hard to conclude. It needs relatively high intimacy and trust in order to obtain such information.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14777
ISBN: 9741433417
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Artittaya_Th.pdf9.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.