Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14779
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม |
Other Titles: | A development of the external evaluation indicators for Islamic Private Schools |
Authors: | โรสนี บินสะมะแอ |
Advisors: | ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Lawthong_n@hotmail.com |
Subjects: | โรงเรียนเอกชน -- การประเมิน -- ไทย ศาสนาอิสลาม -- การศึกษาและการสอน ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตามแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจำนวน 81 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายชั้นตอน โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสอบถามตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีจำนวนทั้งหมด 66 ตัวครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 35 ตัว 2) ด้านครู ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 15 ตัว 3) ด้านผู้บริหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 16 ตัว โดยมีตัวบ่งชี้ใหม่สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เพิ่มเติม จากตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 10 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 ผู้เรียนปฏิบัติศาสนากิจตามหลักศาสนาอิสลาม, ตัวบ่งชี้ 1.8 ผู้เรียนคงความเป็นมุสลิม และอยู่ร่วมกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่นในสังคมได้, บังบ่งชี้ 3.1 ผู้เรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ โดยไม่ขัดหลักศาสนาอิสลาม, ตัวบ่งชี้ 3.2 ผู้เรียนมีความสนใจแลข้าร่วมกิจกรรมด้านดนตรี โดยไม่ขัดหลักศาสนาอิสลาม, ตัวบ่งชี้ 3.4 ผู้เรียนสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะวัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและของไทย โดยไม่ขัดหลักศาสนาอิสลาม และตัวบ่งชี้ 5.9 กลุ่มหลักสูตรอิสลามศึกษาในด้านผู้เรียน ตัวบ่งชี้ 8.2 ครูสอนสามัญที่จบระดับปริญญาตรีขึ้นไป, ตัวบ่งชี้ 8.6 ครูสอนศาสนาที่จบระดับซานาวีขึ้นไป และตัวบ่งชี้ 9.9 ครูในกลุ่มหลักสูตรอิสลามศึกษามีประสิทธิภาพการสอนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในด้านครู และตัวบ่งชี้ 13.3 สถานศึกษามีหลักสูตรและเนื้อหาสาระภารเรียนรู้ระดับสากล ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรอิสลามศึกษา และความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่นในด้านผู้บริหาร 2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับโรงเรียนเเอกชนสอนศาสนาอิสลามตามแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยโมเดลด้านผู้เรียนมีค่า GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMR = 0.0077 โมเดลด้านครูมีค่า GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMR = 0.0063 |
Other Abstract: | The purposes of this study were to develop and validate the external evaluation indicators for Islamic private schools. 81 schools of Islamic private schools were the sample, drown by multi-stage stratified sampling. Data were collected from expert whose profession in external evaluation indicators and Islamic private schools, the teachers, the parents and the students. The research instruments were the interview form and the questionnaire about external evaluation indicators for Islamic private schools. Data were analyzed by descriptive statistics through SPSS, and by confirmatory factor analysis LISREL 8.72. The research were found that. 1. The external evaluation indicators for Islamic private schools consisted of 3 factors and 66 indicators. The 3 factors consisted of 35 indicators of student factor, 15 indicators of teacher factor and 16 indicators of director factor. The results were found that a new 10 indicators; indicator 1.7: the students have to carry out Islamic ways; indicator 1.8: the students live their lives of Muslim ways and live with other religions; indicator 3.1: the students are interested in Arts without breaking Islamic principle; indicator 3.2: the students are interested in musical without breaking Islamic principle; indicator 3.4: the students are interested and prefer to participate in Thai culture and tradition without breaking Islamic principle; indicator 5.9: the curriculum of Islamic study; indicator 8.2: the teachers granduated at least in a bachelor degree; indicator 8.6: the teachers in curriculum of Islamic graduated at least in Sanawei; indicator 9.9: the teachers in curriculum of Islamic teach effectively and emphasize on child center teaching approach; indicator 1.3.: school has curriculum and knowledge matter in global, nation and local levels which relate to curriculum of Islamic study and serve on the students’ and locals needs. 2. The structural models of external evaluation indicators for Islamic private schools were consistent with empirical data. Student factor has GFI =1.00, AGFI = 0.99, RMR = 0.0077, teacher factor has GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.0054, and director factor has GFI = 1.00, AGFI =0.99, RMR = 0.0063. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14779 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1256 |
ISBN: | 9741426364 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1256 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rosnee.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.