Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14787
Title: อุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้ : การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์
Other Titles: Metaphors used by Thai politicians : a cognitive semantics and pragmatic study
Authors: รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม
Advisors: ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
ศิริพร ภักดีผาสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Natthaporn.P@Chula.ac.th
Siriporn.Ph@Chula.ac.th
Subjects: นักการเมือง -- ไทย
อุปลักษณ์
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์
วัจนกรรม
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถ้อยคำอุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้ซึ่งสะท้อนมโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับการเมืองและวิเคราะห์หน้าที่ของมโนอุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้ในวาทกรรม การเมืองประเภทต่างๆ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ คำปราศรัยหาเสียง การอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล การสัมภาษณ์ และรายการ "นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน" การวิเคราะห์ถ้อยคำอุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้สะท้อนมโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับการเมือง 9 มโนอุปลักษณ์ ได้แก่ 1. [การเมือง คือ การต่อสู้] 2. [การเมือง คือ การเดินทาง] 3. [การเมือง คือ การแข่งขัน] 4. [การเมือง คือ ครอบครัว] 5. [การเมือง คือ การรักษาโรค] 6. [การเมือง คือ การแสดง] 7. [การเมือง คือ ธุรกิจ] 8. [การเมือง คือ การดูแลและทำนุบำรุง] และ 9. [การเมือง คือ เกม] มโนอุปลักษณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นมุมมองของนักการเมืองต่อการเมืองในมิติต่างกัน กล่าวคือ การเมืองเป็นเรื่องของความรุนแรง การเมืองต้องมีการวางกลยุทธเพื่อช่วงชิงชัยชนะ การเมืองคือการเดินทางที่นักการเมืองนำประชาชนไปสู่จุดหมาย การเมืองเป็นการแข่งขันที่มีกติกา การเมืองเป็นเรื่องความสัมพันธ์แบบคนในครอบครัว การเมืองต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การเมืองเป็นการแสดงบทบาท การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์ การเมืองคือการดูแลประชาชน และการเมืองเป็นเรื่องของชั้นเชิงและเล่ห์เหลี่ยม ตามลำดับ ผลการศึกษาเรื่องหน้าที่ของมโนอุปลักษณ์พบว่า มโนอุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้ทำหน้าที่ 3 ด้าน คือ (1) ด้านการถ่ายทอดความคิด ได้แก่ การอธิบายความและการเปลี่ยนมุมมองใหม่ (2) ด้านบุคคลสัมพันธ์ ได้แก่ การนำเสนอภาพ ด้านบวกของตนเองและ การนำเสนอภาพด้านลบของฝ่ายตรงข้าม และ (3) ด้านสัมพันธภาพ ได้แก่ การลำดับความและการเชื่อมโยงความ เมื่อพิจารณาหน้าที่ของมโนอุปลักษณ์ตามแนวคิดของชาร์เตอร์ริส-แบล็ค (Charteris-Black, 2005) พบว่ามโนอุปลักษณ์ที่นักการเมืองใช้อาจมีผลทางความคิดและความเชื่อสามประการ คือ การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองผู้นำเป็นที่พึ่งและประชาชนเป็นผู้พึ่งพา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคนของหัวหน้าพรรค
Other Abstract: This thesis aims at analyzing conceptual metaphors about politics as reflected in metaphorical expressions used by Thai politicians. Another objective is to examine the functions of the conceptual metaphors when used in different types of discourse. The data elicited is from various sources including political campaign speeches, the 2002, 2003, and 2004 censure debates, media interviews of politicians between January 2004 to December 2005, and ex-Primeminister Thaksin's "radio talks with the public" in 2004. It is found that the metaphorical expressions used by Thai politicians reflect 9 conceptual metaphors-(1) Polictics is fighting,(2) Politics is a journey,(3) Politics is a competition, (4) Politics is a family, (5) Politics is a medical treatment, (6) Politics is a performance, (7) Politics is business, (8) Politics is caring and maintaining, (9) Politics is a game. These conceptual metaphors represent various aspects of policians toward politics. That is, politics is a violent matter and it requires art of war to defeat the opponent. On the other hand, politics is a competition in which everybody must follow the regulation. Politics is also a journey where politicians lead people to the end. Politics is family business. However, from another perspective, politics requires specialists. Politics is a performance. It is also a business of taking care of people. On the other hand, politics is tricky and complicated. In terms of function, the findings indicate that the conceptual metaphors used by Thai politicians have 3 functions that is (1) ideational function including explanation, and re-conceptualizations, (2) interpersonal function including positive self-presentation and negative other-presentation, and (3) textual function including making the text organized and cohesive. According to Characteris-Black's (2005), conceptual metaphors have ideological effects-they construct and represent a set of ideas. In the present study, it is found that the 9 conceptual metaphors represent a set of ideas including (1) politics is a matter of politicians, (2) MPs must obey the party leaders, and (3) politicians are leaders whereas people or voters are dependent.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14787
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.997
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.997
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratchaneeya_kl.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.