Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1479
Title: การปรับปรุงการตรวจจับข้อผิดพลาดด้วยการเข้ารหัสเชิงเลขคณิต
Other Titles: Improvement of error detection using arithmetic coding
Authors: สมภพ โชคชัยธรรม, 2524-
Advisors: ประสิทธิ์ ทีฑพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasit.T@chula.ac.th
Subjects: การเข้ารหัสช่องสัญญาณ
การตรวจจับข้อผิดพลาด
การปัองกันข้อมูล
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการตรวจจับข้อผิดพลาดซึ่งมีการใช้คุณสมบัติการแพร่กระจายของข้อผิดพลาดของการเข้ารหัสเชิงเลขคณิตโดยอาศัยพื้นฐานความจริงที่ว่าถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับข้อมูลที่ผ่านการเข้ารหัสด้วยการเข้ารหัสเชิงเลขคณิต ข้อผิดพลาดนั้นจะแพร่กระจายไปทั่วข้อมูลทั้งหมดที่ถอดรหัสจากข้อมูลที่เสียหาย คุณสมบัติอันนี้เองทำให้สามารถใช้วิธีการตรวจจับข้อผิดพลาดโดยการใส่สัญลักษณ์ที่รู้ว่าจะต้องเกิดขึ้นหรือที่เรียกว่าเครื่องหมายเข้าไปในข้อมูล ที่ตัวถอดรหัสหากสัญลักษณ์ที่ใส่เข้าไปนี้ไม่ปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้องแสดงว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น วิธีการที่นำเสนอเลือกสัญลักษณ์ที่มีความถี่ในการเกิดสูงที่สุดมาใช้เป็นเครื่องหมายซึ่งหมายความว่าตอนนี้การตัดสินใจเลือกเอาสัญลักษณ์ใดมาเป็นเครื่องหมายจะถูกตัดสินโดยดูจากความน่าจะเป็นในการเกิดของสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตรวจจับข้อผิดพลาดที่นำเสนอสามารถแลกเปลี่ยนความซ้ำซ้อนเพียงเล็กน้อยกับความสามารถในการตรวจจับข้อผิดพลาดได้ นอกจากนี้วิธีการที่นำเสนอยังใช้ความซับซ้อนในการคำนวณน้อยกว่าวิธีการตรวจจับข้อผิดพลาดต่อเนื่อง
Other Abstract: This thesis proposes an error detection method which utilizes error propagation property of arithmetic coding. This method based on the fact that if an error occurred in the data encoded by arithmetic coding. The error will propagate through the end of the decoded data. This property provides a method to detect errors by inserting known symbol called marker into the data. At the decoder, if the known symbol is not present at its location. Then an error has been occurred. The proposed method employs the most frequent symbol as marker which means the marker is now determined by its probability of occurrence. Therefore the proposed error detection can trade-off small amount of redundancy for error detection capability. The proposed method also consumes less computational complexity than continuous error detection scheme.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1479
ISBN: 9741761171
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somphop.pdf936.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.