Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14828
Title: กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Public relations strategy of Thailand Post CO., LTD and image perceived by people in Bangkok
Authors: สุวิมล สุทธิพงศ์
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: บริษัทไปรษณีย์ไทย
การประชาสัมพันธ์
ไปรษณีย์ -- ไทย
ภาพลักษณ์องค์การ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา (1) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (2) ภาพลักษณ์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจคือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประมวลผลข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัย พบว่า 1. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร และระยะที่ 2 กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างแบรนด์ 2 มีกลยุทธ์การใช้สื่อที่หลากหลาย โดยใช้สื่อมวลชนเป็นสื่อหลัก มีผลต่อการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กรในระยะแรกภายหลังการแปลงสภาพ และในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กร เพื่อสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นในองค์กร 3. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างแบรนด์ "ไปรษณีย์ไทย" เน้นที่การใช้สื่อที่องค์กรมีอยู่คือ สื่อบุคคลที่เป็นบุรุษไปรษณีย์ และพนักงานหน้าเคาน์เตอร์ ผสมผสานกับกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน การจัดกิจกรรมพิเศษ และกลยุทธ์การสร้างสัญลักษณ์ เพื่อสร้างการรับรู้ จดจำ และรักษาไว้ซึ่งความภักดีในแบรนด์ไปรษณีย์ไทย 4. ภาพลักษณ์โดยรวมของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในเชิงบวก เมื่อจำแนกภาพลักษณ์แต่ละด้านพบว่า ภาพลักษณ์ด้านองค์กร ผู้บริหารพนักงานมีภาพลักษณ์เป็นกลาง ส่วนภาพลักษณ์ด้านสินค้าและบริการ และภาพลักษณ์ด้านกิจกรรมมีภาพลักษณ์เชิงบวก
Other Abstract: To study (1) the public relations strategy of Thailand Post Co., Ltd. (2) the image of Thailand Post Co., Ltd. as perceived by people in Bangkok. Documentary study, in-depth interview and survey were used to collect the data. For survey research, the samples were 405 people in Bangkok Metropolitan area. Questionnaires were used for data collecting. SPSS was employed for data processing. The data were analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation. The results of this research were as follows 1. Public relations strategy of Thailand Post Co., Ltd. was divided into 2 phases (1) public relations strategy for building corporate image. (2) public relations strategy for branding. 2. In the first phase, multi-media strategy was used. Mass media, however, were the main media that affected the corporate image building during the period of corporate transformation. Mass media also built new corporate image to create the recognition and credibility of the corporate. 3. Public relations strategy for branding "Thailand post" focused on personal media i.e., postmen and counter services personnel. However, mass media, special events and symbol building were also used to create recognition, retention and loyalty to the brand. 4. Totally, Thailand Post Co., Ltd. has positive image as perceived by people in Bangkok. When the image was viewed in five aspects, the result were as follows 1) The image of the organization was neutral. 2) The image of the executives was neutral. 3) The image of the employees was neutral. 4) The image of the products and service was positive. 5)The image of the activities was positive.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14828
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.36
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.36
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwimon_Su.pdf11.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.