Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14855
Title: ผลของการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนของคู่สมรสต่อการปรับตัวของสตรีที่เข้ารับการตัดมดลูก
Other Titles: The effect of providing health information and husband support on adaptation of women with hysterectomy
Authors: วิปาจรีย์ ศิริโชติ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: มดลูก -- ศัลยกรรม
สารสนเทศทางการแพทย์
การปรับตัว
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของสตรีที่เข้ารับการตัดมดลูก ระหว่างกลุ่มที่ได้รับข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนของคู่สมรส กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กำหนดให้ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในด้านอายุ ระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนของคู่สมรส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนของคู่สมรส ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมโดยดัดแปลงตามแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ House(1981) และแนวคิดการปรับตัวของLazarus and Folkman (1984) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนของคู่สมรส และแบบวัดการปรับตัวของผู้ป่วย ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่านและทดสอบค่าความเที่ยงของแบบวัดการปรับตัวของผู้ป่วยด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที(t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สตรีตัดมดลูกกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนของคู่สมรส มีคะแนนการปรับตัวดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to compare adaptation of women with hysterectomy between the group receiving health information via multimedia application and husband support and the group receiving conventional care. Research samples consisted of 40 hysterectomy patients admitted at Suratthani Hospital. Participants were matched by age, education level. The first 20 subjects were assigned to a control group, and the later 20 subjects were assigned to an experimental group. The control group received routine nursing care whereas the experimental group received the health information program emphasizing husband support.The program was developed based on House's concept (1981), Lazarus and Folkman's concept (1984). The research instruments were a demographic data, Husband support and Adaptation questionnaires. The instruments were tested for the content validity by 6 experts. The reliability with alpha of Cronbach's 0.88 in Adaptation questionnaires. The data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows : The adaptation of women with hysterectomy receiving health information and husband support was significantly higher than those who receiving conventional care at the 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14855
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.624
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.624
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipajaree_Si.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.