Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1490
Title: การประยุกต์เทคนิคการประเมินด้านความรู้สึกเพื่อควบคุมคุณภาพกระดาษเช็ดหน้า
Other Titles: Application of sensory evaluation techniques for facial tissue quality control
Authors: อนรรฆพร สว่างใจ, 2517-
Advisors: ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การประเมินลักษณะทางประสาทสัมผัส
กระดาษเช็ดหน้า
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประยุกต์เทคนิคการประเมินด้านความรู้สึกสำหรับการควบคุมคุณภาพ ของกระดาษเช็ดหน้าในเรื่องคุณลักษณะด้านความรู้สึกต่างๆ ให้มีความครบถ้วนชัดเจน ปรับปรุงคุณภาพกระดาษเช็ดหน้าโดยใช้การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ หรือเอสพีซีกับคุณลักษณะด้านความรุ้สึก และเพิ่มความเชื่อมั่นในการนำผลและการวิเคราะห์ด้านความรู้สึก ไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคได้ โดยมีการนำเอสพีซีร่วมกับการประเมินคุณลักษณะด้านความรู้สึกจำนวน 15 คุณลักษณะ คือ ปริมาณแรงในการกำ ปริมาณแรงในการบดขยำ ความอ่อนนุ่ม ความแข็งกระด้าง ความลื่นเหมือนผ้าไหม การยืดตัว จุดรอยด่าง ความผิดปกติของการเรียงตัวเยื่อกระดาษ ความฝืดความหนา ความหยาบเม็ดเล็กๆ บนผิวกระดาษ ความดังของเสียง ความขาวสว่าง และฝุ่นละออง อีกทั้งมีการทดสอบเทียบกับการทดสอบกลุ่มผู้บริโภค เพื่อวิเคราะห์การยอมรับของผลการประเมิน ผลการวิจัยพบว่าสามารปรับปรุงและควบคุมคุณภาพกระดาษเช็ดหน้า ในเรื่องปริมาณแรงที่ใช้บดขยำและปริมาณฝุ่นละอองได้ โดยใช้เอสพีซีกับคุณลักษณะด้านความรู้สึก จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การประเมินด้านความรู้สึก ของห้องปฏิบัติการกับกลุ่มผู้บริโภค พบว่าคุณลักษณะด้านความรู้สึก ที่สามารถได้ผลการทดสอบใกล้เคียงกันหรือเทียบเท่ากัน ที่ความเชื่อมั่น 95% คือ ปริมาณแรงในการบดขยำ ความอ่อนนุ่ม ความแข็งกระด้าง ความลื่นเหมือนผ้าไหม จุดรอยด่าง ความดังของเสียง และฝุ่นละออง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน เท่ากับ 1.00 ซึ่งบ่งบอกได้ว่าคุณลักษณะด้านความรู้สึกเหล่านี้ มีผลกระทบโดยตรงกับความพึงพอใจของผู้บริโภค และถือได้ว่าผลการประเมินด้านความรู้สึกของห้องปฏิบัติการนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
Other Abstract: To (1) apply sensory evaluation techinques for facial tissue quality control in term of comprehensive sensory attributes (2) improve facial tissue quality by SPC (Statistical Process Control) for sensory test and (3) validate the results of sensory laboratory with consumer test by correlation analysis. For this reason, the results are able to imply the guidelines and support product development for building consumer satisfaction. The SPC approach the sensory quality in fifteen attributes that consist of force to gather, force to compress, smooth like silk, tensile stretch, stain, irregular formation, hand friction, roughness, thickness, gritty, noise intensity, whiteness, lint, stiffness and fuzziness. The research results show the improvement of facial tissue in term of force to compress and lint by using SPC in those sensory attributes. From correlation analysis of Spearman's rank correlation coefficient, there is good validation between sensory laboratory and consumer test as 1.00 at 95% confident interval of seven sensory attributes. They are force to compress, fuzziness, lint, smooth like silk, stiffness, stain and noise intensity that affect to consumer acceptance. The sensory evaluations can ultimately respond the consumer satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1490
ISBN: 9745321877
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anakaporn.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.