Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15098
Title: การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแสวงหาและการเรียนรู้จริยธรรมของเยาวชน
Other Titles: The use of information communication technology for ethical seeking and learning of the youths
Authors: ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา
Advisors: สุกัญญา สุดบรรทัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sukanya.S@chula.ac.th
Subjects: เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีกับเยาวชน
จริยธรรม
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการสื่อสารจริยธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชน รวมถึงคุณลักษณะของสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะส่งเสริมการสื่อสารจริยธรรมของเยาวชน ความพึงพอใจของเยาวชนต่อรูปแบบและเนื้อหาจริยธรรมในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการนำเนื้อหาเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผล ต่อการสื่อสารจริยธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชนอีกด้วย ซึ่งในการวิจัยอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจประกอบกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความหมายจริยธรรมว่าเป็นความดี การประพฤติที่ดีงาม สำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี โดยเริ่มสนใจเรียนรู้จริยธรรมตั้งแต่วัยเยาว์และมีแรงจูงใจในการแสวงหาและเรียนรู้จริยธรรมจากปัจจัยภายในตัวเอง ส่วนการ สื่อสารจริยธรรมผ่านสื่อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะการแสวงหาและเรียนรู้ทางจริยธรรมผ่านสื่อในลักษณะผสมผสานทั้งสื่อ บุคคล สื่อมวลชน และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการเปิดรับและการตอบกลับสารเกี่ยวกับจริยธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับต่ำมากและเครื่องมือที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับในระดับมากที่สุดได้แก่ เว็บไซต์ (website) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) และ เว็บบอร์ด (webboard) ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างจะเลือกเปิดรับเว็บไซต์ที่เป็นของแหล่งเรียนรู้จริยธรรมทางกายภาพของตนเองเป็นประจำมากกว่าเว็บไซต์จริยธรรมของแหล่งอื่น คุณลักษณะของสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าช่วยส่งเสริมการแสวงหาและเรียนรู้ทางจริยธรรมมากที่สุดคือความเป็นลักษณะสื่อหลายแบบ (Multimedia) ความเป็นสื่อที่รวดเร็วและสะดวกในการใช้งาน การมีระบบ Search Engine ที่ช่วยให้ค้นคว้าเนื้อหาจริยธรรมได้ง่ายขึ้น และ ความเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้สามารถเปิดรับหรือส่งสารไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศด้านจริยธรรมที่กลุ่มตัวอย่างไม่พึงพอใจนั้นได้แก่ ความไม่พึงพอใจด้านเนื้อหายังต้องพัฒนาอีกมากทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้ตรงกับกลุ่มเยาวชน ด้านการนำเสนอที่จะต้องใช้คุณลักษณะพิเศษเช่น มัลติมิเดีย เพื่อดึงดูดใจเยาวชนให้มากขึ้น และด้านการเข้าถึงที่ควรประชาสัมพันธ์ช่องทางการเข้าถึงเนื้อหาจริยธรรมบนอินเตอร์เน็ตให้มากขึ้น ด้านรูปแบบของการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารจริยธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อหา คำตอบเกี่ยวกับข้อสงสัยหรือปัญหาในชีวิตของตนเอง ใช้เป็นแหล่ง ข้อมูลเพื่อเรียนรู้จริยธรรมเพิ่มเติม ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อหาเนื้อหาเป็นแนวทางในการให้คำปรึกษากับเพื่อน และการใช้เป็นแหล่งความบันเทิง ผ่อนคลายความเครียด ความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ต่างเพศกันจะมีพฤติกรรมการสื่อสารจริยธรรมที่ต่างกันโดยเพศ หญิงมีพฤติกรรมการสื่อสารจริยธรรมผ่านสื่อในระดับที่มากกว่าเพศชาย ส่วนปัจจัยด้านการเปิดรับเนื้อหาจริยธรรมทางสื่อมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุและนิตยสาร มีความสัมพันธ์โดยโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์ระดับสูงที่สุด ส่วนปัจจัยเรื่องความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศพบเพียงปัจจัยเดียวคือความเป็นชุมชนออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับเนื้อหาจริยธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศแต่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ.
Other Abstract: The objective of this research was to study the behavior of using information communication technology (ICT) by youths for the purpose of seeking and learning ethics. Moreover, it was intended to also study of the relationship between the factors resulting in communicating ethics through ICT by youths. This research was performed adopting the survey research method coupled with the qualitative study method, gathering data from questionnaire-based surveys of 200 sampled youths along with in-depth interviews of 21 sampled youths. The study finds that the sample group are mainly define ethics as goodness, behaving virtuously and having good consciousness to separate the good from the bad. The sample group are motivated intrinsically to seek and learn ethics at early young age. As for communicating ethics through medias, it has been found that the sample group has a characteristic of seeking and learning ethics in a mixed character combining personal communication, mass media and ICT. The sample group has exposed and interacted ethical information through ICT at a considerably low level. The facilities the sample group most uses for communicating ethics are the website, e-mail and web-board. The sample group prefers exposing selectively the websites belonging to the reference group where they study ethics physically more than other ethical website sources. As for the characteristic of ICT considered as most supportive in seeking and learning about ethics for youths are as follows respectively: the form of a multimedia, being a media that is quick and efficient for use, having a search engine and being a media with an asynchronous nature. However, the limitations of ICT in terms of ethics the sample group is not too satisfied with are the context that still requires much improvement, both in terms of quantity and quality, to suit the juveniles, the presentation that also requires a special characteristic, like multimedia, to better attract the attention of the youths and as for reaching them, more advertisements on how to get to more context of ethic on the internet are required. As for the format for most beneficial usage from communicating ethics trough ICT, it has been found that the sample group uses ICT as the data source for answers to their curiosity and problems in lives, as the information source for additional learning about ethics and for giving consultation to friends. Additionally, the sample group use ICT as the source for entertainment and relaxation. The relationship between the various factors can be summarized that the sample group with different sex is significantly different in behaviors in communicating ethics; specifically the female tends to have the behavior at a higher level than the male. As for the factors of the behavior of exposing to ethics through mass media, namely television, radio and magazines, have positive correlation with the communicating ethics through ICT of the youths; in the form that TV have the highest correlation. As for the factors of the satisfaction of characteristic of ICT, there is the only factor which is the online community that correlates with communicating ethics through ICT in a low level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15098
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.328
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.328
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanansara_Or.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.