Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15111
Title: กระบวนการประชาสัมพันธ์และการยอมรับโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
Other Titles: Public relations process and acceptance of the to be number one project
Authors: ปราณปรียา เอื้อสถาพร
Advisors: รุ่งนภา พิตรปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Rungnapar.P@chula.ac.th
Subjects: การประชาสัมพันธ์
โครงการทูบีนัมเบอร์วัน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการประชาสัมพันธ์ และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของโครงการทูบีนัมเบอร์วัน โดยศึกษาจากความรู้ การยอมรับ และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษากระบวนการประชาสัมพันธ์ และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โดยศึกษาจากเอกสารโครงการและการสัมภาษณ์เจาะลึก ส่วนที่สองคือ การศึกษาประสิทธิผลของโครงการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Windows ในการประมวลผลรวม ผลการศึกษา พบว่า โครงการทูบีนัมเบอร์วันได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ที่เป็นขั้นตอน และมีแบบแผน หากแต่ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และพบว่า กลยุทธ์หลักในการประชาสัมพันธ์โครงการได้แก่ กลยุทธ์การใช้สื่อบุคคลที่มีชื่อเสียง กลยุทธ์การใช้สื่อผสม กลยุทธ์การใช้สื่อสองทางที่สร้างการมีส่วนร่วม กลยุทธ์การใช้สื่อเพื่อสร้างกระแส และกลยุทธ์การใช้สื่อที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ในส่วนของการยอมรับโครงการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโครงการในระดับปานกลาง มีการยอมรับโครงการในระดับสูงมาก และมีพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการและการใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการและการใช้เวลา ว่างให้เป็นประโยชน์ แต่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับโครงการ และการยอมรับโครงการทูบีนัมเบอร์วัน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการและการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์.
Other Abstract: The purposes of this research were to study the public relations process and acceptance of the To Be Number One Project. The research methodology was an integration of qualitative and quantitative approaches. The samples under study were staffs of the Department of Mental Health responsible for this project, and 400 students of participated schools. The findings were as follow : - 1. The To Be Number One Project has made use of systematic public relations process. However, its evaluation process is not effective enough and thus needed to be improved. Moreover, the principal public relations strategies used were personal media and mass media; 2. The samples had moderate level of knowledge about the project. They strongly accepted the project whereas their behavior of participating in the project activities was moderate; 3. There was no correlation between knowledge of the project and the behavior of participating in the project activities while knowledge and acceptance of the project were positively correlated as hypothesized. 4. Acceptance of the project and the behavior of participating in the project activities were positively correlated as hypothesized.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15111
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.21
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.21
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pranpreeya.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.