Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15119
Title: การศึกษาการใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลในเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดขนาดเล็ก
Other Titles: Using palm-biodiesel B100 for small CI engine
Authors: อณัติ จิตรานุเคราะห์
Advisors: คณิต วัฒนวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kanit.W@chula.ac.th
Subjects: เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
เครื่องยนต์ดีเซล -- การเผาไหม้
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาผลกระทบจากการใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลตามกำหนดของประกาศกรมธุรกิจพลังงาน พ.ศ. 2549 ต่อเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ชนิดฉีดเชื้อเพลิงโดยตรง โดยแบ่งการวิจัยออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนแรกทำการทดสอบเครื่องยนต์บนแท่นทดสอบ ที่สภาวะคงตัวที่ความเร็วรอบคงที่ ระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลและเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลที่สภาวะภาระสูงสุด และสภาวะภาระบางส่วน ซึ่งผลการทดสอบที่ได้ เมื่อนำมาปรับค่าเทียบกับอุณหภูมิและความดันบรรยากาศมาตรฐาน พบว่าที่สภาวะภาระสูงสุดแรงบิดเบรก และค่าควันดำของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลมีค่าต่ำกว่าน้ำมันดีเซล ในทุกความเร็วรอบของการทดสอบโดยต่างกันสูงสุด ร้อยละ 7.7 อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะ และอุณหภูมิไอเสียที่ได้จากการใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลและน้ำมันดีเซล มีค่าใกล้เคียงกันส่วนที่สภาวะภาระบางส่วนพบว่าอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะ ที่ได้จากการใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลมีค่าสูงกว่าทุกจุดทดสอบ ค่าอุณหภูมิไอเสียใกล้เคียงกัน ค่าควันดำในช่วงแรงบิดต่ำมีค่าใกล้เคียงกัน แต่ในช่วงแรงบิดสูงค่าควันดำจากการใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลมีค่าต่ำกว่า ส่วนที่สองการทดสอบการเปลี่ยนองศาการฉีดน้ำมันปาล์มไบโอดีเซล ที่องศาการฉีดเชื้อเพลิงล่วงหน้าพบว่าที่สภาวะภาระสูงสุดแรงบิดเบรก อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะ และอุณหภูมิไอเสีย ตลอดย่านความเร็วที่ทำการทดสอบมีค่าสูงที่สุด และองศาการฉีดมาตรฐาน รองลงมาตามลำดับ ที่สภาวะภาระบางส่วนไม่พบความแตกต่างของอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะจากการเปลี่ยนองศาการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนที่สามทำการทดสอบความทนทานของเครื่องยนต์จากการใช้งานต่อเนื่องภายใต้สภาวะภาระจำลองเป็นเวลา 500 ชั่วโมง พบว่าสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่สภาวะภาระสูงสุดเมื่อใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลหลังผ่านการทดสอบความทนทานมีแรงบิดเบรกที่ลดลงร้อยละ 5.4-10.1 อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะมีค่าสูงขึ้นร้อยละ 7.4-20.1 ค่าควันดำมีค่าสูงขึ้น 1.2-2.2 BSN จากการทดสอบความดันเริ่มต้นของหัวฉีดของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลไม่สามารถหาได้ เนื่องจากเกิดการรั่วที่ปลายหัวฉีดก่อนถึงระดับความดันในการเริ่มฉีดที่ระดับเหมาะสม พบปริมาณเขม่าจับตัวหนาที่ปลายหัวฉีด คราบตะกอนสีแดงที่ฝาสูบในเครื่องยนต์ นอกจากนั้นไม่พบความแตกต่างอย่างมีจากการสึกหรอในชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ห้องเผาไหม้ และชิ้นส่วนถ่ายทอดกำลังระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลและเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล แต่พบปริมาณตะกอนในกระบอกไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณที่มากกว่า การใช้น้ำมันปาล์มไบโอดีเซลมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเสียคุณสมบัติเร็วกว่ากำหนดดังเห็นได้จาก ผลจากการวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่นตลอดช่วงทดสอบความทนทานพบว่า ความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นมีอัตราลดลง และมีค่าน้อยกว่าระดับการเตือนขั้นวิกฤตในชั่วโมงการใช้งานน้ำมันหล่อลื่นที่ 100 และ 110 และพบปริมาณโลหะเหล็ก อลูมิเนียม และโครเมี่ยมตกค้างในน้ำมันหล่อลื่นสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซล สรุปได้ว่าการนำน้ำมันปาล์มไบโอดีเซลมาใช้งานกับเครื่องยนต์ชนิดฉีดเชื้อเพลิงโดยตรง สมรรถนะของเครื่องยนต์ที่ใช้ปาล์ม ไบโอดีเซลด้อยกว่าการใช้น้ำมันดีเซล การทดสอบความทนทานภายใต้สภาวะภาระจำลองพบว่า สมรรถนะที่สภาวะสูงสุดมีค่าด้อยลงอย่างชัดเจน เนื่องจากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับระบบการจ่ายเชื้อเพลิง เช่นการลดลงของความดันเริ่มฉีดของเชื้อเพลิง
Other Abstract: The study is aimed to investigate the effects of using Palm-Biodiesel (B100), specification according to Department of Energy Business 2549, in small direct Injection CI engines compared to normal diesel fuel. It can be divided into 3 different tests. Firstly, comparative test was conducted with constant speed and steady state conditions at full load and partial load. By corrected results to standard ambient conditions (ISO3046) for full load conditions, the obtained engine performance on the use of B100 is more inferior throughout the entire tested range, with the max lower torque is 7.7% while the BSFC values and exhaust temperature are similar. The smoke densities, with B100 are also lighter for the entire tested range. At partial load conditions, it has been observed that the BSFC values are higher for the entire test range. The smoke densities at low obtained torque of both performances test are similar, but at high obtained torque with B100 yield lighter values. At high obtained torque, the exhaust temperatures from comparative test also show no significant difference. Second, comparative test with altering injection timing using B100: at full load conditions and at the retarded injection timing, the engine performance experiences the maximum values for BSFC and exhaust temperature; and less values had been observed with at subsequent stages of standard injection timing. At partial load conditions, altering injection timing had shown no change in the value of BSFC. Lastly, endurance test for using B100 in a small CI engine had been monitored for 500 continuous working hours. Engine performance, the engine fuel conversion efficiency after endurance test drops noticeable range between 5.4-10.1%. Other consequential effects are the value of BSFC and the smoke density that was increasing range by 7.4-20.1% and 1.2-2.2 BSN, respectively. The pre-injection pressure of injector has not been able to be monitored due to leakage during proceeding proper injector performance test set up. After disassembly, thick deposit of carbon has been observed around the injector nozzle and injection head. The engine cylinder head has also shown red color deposit. However, no significant wear has been found on any engine parts such as liner, bearings, etc. The excessive sediment in the fuel filter is also observed. The result from lubrication test has indicated that the lube oil viscosity reduced and this will exceed the lubrication critical caution specification limit at 100 and 110 oil hours. Observed wear metal contamination such as iron, aluminum, and chromium, found in lube oil is also higher than normal. Conclusion: From comparative test the engine performance on the use of Palm-Biodiesel B100 is more inferior throughout the entire tested range. Endurance test results show reducing engine performance due to deteriorating operation of fuel system such as reduction in pre-injection pressure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15119
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1895
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1895
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anat_Ch.pdf15.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.