Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15196
Title: การวางผังและออกแบบจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรในย่านพาณิชยกรรมชุมชนริมน้ำ : กรณีศึกษา ย่านตลาดพลู กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Planning and design for transit nodes in old commercial areas : a case study of Talat Phlu, Bangkok
Authors: ธีมาพร วัชราทิน
Advisors: นิรมล กุลศรีสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Niramol.K@Chula.ac.th
Subjects: ตลาด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ผังเมือง
การขนส่งในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ตลาดพลู (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางผัง และออกแบบทางกายภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ย่านตลาดพลูในอนาคตที่ผสมผสานระหว่างการเป็นพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Node) กับการรักษาไว้ซึ่งความเป็นสถานที่ (Place) ในกรณีย่านเมืองเก่า เนื่องจากในปัจจุบันเมืองมีการขยายอย่างรวดเร็ว การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งระบบราง และพื้นที่โดยรอบจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Transit node) ได้กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเขตพื้นที่ใจกลางเมือง ซึ่งเป็นการสร้างแรงดึงดูดให้ผู้คนและกิจกรรมการพัฒนาของเอกชนเข้าสู่พื้นที่ อย่างไรก็ตาม ด้วยเงื่อนไขในการออกแบบพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรโดยเฉพาะกรณีโครงสร้างเป็นทางยกระดับ มักกลายเป็นปัจจัยคุกคามชุมชนในย่านเมืองเก่า เหตุการณ์ดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นในย่านตลาดพลู ย่านตลาดพลู เป็นย่านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครที่มีข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เนื่องด้วยเป็นพื้นที่เมืองซึ่งประกอบขึ้นจากโครงสร้างเมืองขนาดเล็ก (Fine-grained urban fabric) ที่สัมพันธ์และรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมของคนในชุมชน รวมทั้งมักเป็นที่ตั้งของอาคารและโบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งโครงข่ายการสัญจรแบบถนนซอยปลายตัน การวางตัวของแนวอาคารที่สัมพันธ์กับน้ำ และถนน รวมถึงรูปแบบการปิดล้อมพื้นที่ว่างสาธารณะ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการค้า และการพักอาศัยกับการใช้พื้นที่ที่เกิดขึ้นแทบตลอดทั้งวันนั้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอกลักษณ์ และ “ความเป็นสถานที่” (Place) ของย่าน ซึ่งมีแนวโน้มที่ถูกรื้อทำลายและแทนที่ด้วยถนนและมวลอาคารขนาดใหญ่จากโครงสร้างของสถานีโดยสาร เสายกระดับตามแนวเส้นทาง รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมเข้มข้นหรือที่อยู่อาศัยหนาแน่นประเภทอาคารสูงที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการศึกษา และออกแบบทางกายภาพ เพื่อให้ “พื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร” รอบสถานีโดยสารสามารถรองรับการใช้งานระดับเมืองได้ ในขณะเดียวกันยังคงรักษา “ความเป็นสถานที่” ของย่านตลาดพลูไว้ได้อย่างเหมาะสมจากการศึกษา พบว่า การพัฒนาพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรให้มีความเป็นสถานที่ที่ดีนั้น ควรคำนึงถึงองค์ประกอบความเป็นสถานที่มากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ย่านเมืองเก่าทั้งโครงสร้างทางกายภาพ และเนื้อเมืองเดิม ในกรณีของย่านตลาดพลู ได้นำ “น้ำ” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีมาตั้งแต่อดีตเป็นตัวร้อยเรียงองค์ประกอบความเป็นสถานที่ และกิจกรรมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งกิจกรรมการเดินทาง กิจกรรมการค้า และกิจกรรมทางสังคม โดยสร้างทางเดินเท้าเลียบริมคลองที่สำคัญภายในย่าน เช่น คลองบางกอกใหญ่ และคลองบางน้ำชน นอกจากนี้ยังเน้น และให้ความสำคัญกับเส้นทางเดินเท้าเป็นหลักที่ดึงดูดให้ผู้คนมาใช้งาน แวดล้อมด้วยกิจกรรมการค้า สิ่งอำนวยความสะดวก และบรรยากาศที่ดี รวมถึงทัศนียภาพที่สวยงาม นอกจากนี้ ยังออกแบบให้สถานีรถไฟฟ้าในอนาคตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเมือง และให้มีการใช้พื้นที่แบบผสมผสานระหว่างการค้า และการพักอาศัยโดยรอบที่สามารถให้บริการ และรองรับกับคนทุกระดับได้อย่างลงตัว รวมทั้งเชื่อมโยงประเภทของการสัญจรที่หลากหลายกันเป็นระบบ ทั้งระบบราง เรือ และรถโดยสารประจำทางด้วยทางเดินเท้ายกระดับที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งการออกแบบนั้นได้ผสมผสานกับบริบทดั้งเดิมของพื้นที่ทั้งโครงข่ายการสัญจรเดิมที่สะท้อนให้เห็นถึงร่องสวน และลำประโดง การวางตัวของแนวอาคาร รวมถึงกิจกรรม และการใช้พื้นที่ที่เป็นบทบาทที่สำคัญ และเอกลักษณ์ของย่าน เพื่อให้องค์ประกอบความเป็นสถานที่ และการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรของย่านตลาดพลูในอนาคตผสมผสานกันได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: This study aims to plan and physically design, to be appropriate to the location in the area of Talad Phlu Zone in the future time; which requires the perfect combination between “Node” and “Place”, in the case of old town. Due to the today’s rapid expansion of the city, the development of transportation in railway system, and the Transit Node are becoming the substantial strategies in developing the area of center city; it creates the essential attraction pulling people and activities supporting the development to the local city by the private sector. However in the condition of designing the Node, especially in the case of expressway scheme; it always becomes the threatening factor to the local community in the old city zone. This mentioned situation is happening to the area of Talad Phlu that is one of the most ancient zones of Bangkok, which has a limitation on physical environment. It is the city area composed of Fine-grained Urban Fabric which relates and welcomes socio-economic activities of the local people, plus it is the location of infrastructures, buildings, and other archeological sites being worth for the historical value. In general, it has the following characteristics: transporting system by blind valley, structuring the building to relate to the water, concerning about the street, and blocking of public space area. Besides these, the relationship of trading activities and living habit related with the spacing happening all days. All these factors are the significant components of the identity and “Place” of this zone, which tends to be destructed and replaced by mega-sized infrastructures from the structures of elevated station, and utilization of the land in the aspect of commercial or any other residential buildings, being expected to be considerably increased in the future time. From the study, it found that the development of Node to strengthen the good condition of Place, it should concern more about the components of the Place; especially in this old town zone, the physical structure and the tradition environment of the town are the necessity. In the case of Talad Phlu, the city has “Water” as the major significant factor since the old days; it is the organizing component of the Place, and other activities (i.e. transporting activities, trading activities, and social activities) to combine together, by constructing the pathway nearby the klong within the town zone such as Klong Bangkok Yai and Klong Bang Nam Chon. Moreover, it emphasizes and significantly focuses on the pathway as the attracting point to the local people and other users; which surrounds by the trading activities, facilitators, and good atmosphere, plus the charming panorama and beautiful scenery. In addition, to design the Sky Train Station to be a part of the city in the future; to utilize the space and area in both commercial and residential aspects; and to be able to welcome any people in any social level. The plan focuses to link many types of transportation system altogether (i.e. railway, boat, and passenger car) to have the connected walkway. The design combines the following aspects: the traditional context of the area in transporting system reflecting the image of agriculture, the structure of the buildings, the activities, the utilization of space as the major role, and the identity of the zone; due to the perfect combination of the component of Place and Transit Node of the Talad Phlu Zone.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15196
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2045
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2045
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Theemaporn_wa.pdf13.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.