Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจรัสศรี พัวจินดาเนตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-05-24T04:32:22Z-
dc.date.available2011-05-24T04:32:22Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15199-
dc.description.abstractบทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณธรรมจริยธรรมจากการ จัดการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี แบบ (1) สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม (2) การ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ และ (3) การจัดการเรียนการสอนแบบสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ประจำปีการศึกษา 2551 ภาคเรียนที่ 1 การศึกษาได้ ดำเนินการจัดกลุ่มห้องเรียนออกเป็น 3 กรณีศึกษา ได้แก่ (1) กลุ่มจำนวนห้องเรียนที่มีการแจกแจงผล คะแนนทดสอบความรู้ความเข้าใจพื้นฐานวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีก่อนการทดลอง (Pre-test) เป็นแบบปกติ มีค่าความแปรปรวน และค่าเฉลี่ย ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับดัชนีนัยสำคัญ (?) เท่ากับ 0.05 ซึ่งมีจำนวน 4 ห้องเรียน ดำเนินการสุ่มห้องเรียนจำนวน 1 ตัวอย่างต่อ 1 รูปแบบวิธีการจัดการเรียนการ สอน โดยวิธีการจับฉลาก (2) กลุ่มจำนวนห้องเรียนที่มีการแจกแจงผลคะแนนทดสอบความรู้ความ เข้าใจฯ ไม่เป็นแบบปกติ และมีค่ามัธยฐานแตกต่างกัน ที่ระดับดัชนีนัยสำคัญ (?) เท่ากับ 0.05 ซึ่งมี จำนวน 3 ห้องเรียน กำหนดให้ห้องเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูง ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนต่ำ จัดการเรียน การสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยรรม ห้องเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูง ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนสูง จัดการเรียนการสอนแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ และ ห้องเรียนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ และ ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนสูง จัดการเรียนการสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้การจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ และ (3) กลุ่มจำนวนห้องเรียนทั้งระดับหรือพิจารณาร่วมระหว่าง กรณีที่ 1 และ 2 จากนั้น ดำเนินการศึกษาเป็นเวลา 15 สัปดาห์ๆละ 2 คาบต่อเนื่องกัน วัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสัปดาห์ที่ 9 และ 15 ตามลำดับ และสุดท้าย ได้ทดสอบความรู้ความเข้าใจพื้นฐานวิชาการ งานอาชีพและเทคโนโลยีหลังสิ้นสุดการทดลอง (Post-test) ผลการศึกษา พบว่า (1) วิธีการสอนทั้ง 3 แบบ ให้ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการปฏิบัติงาน ด้าน คุณธรรมจริยธรรม และด้านความรู้ความเข้าใจ แตกต่างกัน ที่ดัชนีนัยสำคัญ (?) เท่ากับ 0.05 สำหรับ กลุ่มทดลองกรณีที่ 1 2 และ กรณีทั้งระดับ ตามลำดับ (2) วิธีการสอนทั้ง 3 แบบ ให้ผลคะแนนทดสอบ ความรู้พื้นฐานวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนทั้งระดับ มีค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าควอไตล์ ที่ 3 และที่ 1 สูงขึ้น ขณะที่ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละสัมประสิทธิ์ ความแปรปรวน (% Coefficient of Variance) มีค่าลดลง และ (3) วิธีการสอนแบบที่ 2 การจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละด้านและทุกด้านรวมกันสูงที่สุดen
dc.description.abstractalternativeABSTRACT This research aimed to investigate the academic achievements and moral virtue in the course of occupational work and technology instructed by (1) integrating moral virtue; (2) co-operative learning experience management; and (3) co-operative methods between (1) and (2) for the 1st level students of Chulalongkorn University Elementary Demonstration School, the 1st semester, year of 2008. The study had classified the classrooms into 3 groups based on the pre-test result of the course knowledge as (1) the classrooms having the pre-test scores as a normal distribution, equal means, and equal variances with the statistical significant (?) of 0.05, having 4 classrooms and sampling 1 classroom per instruction; (2) the classrooms having unequal medians with the statistical significant (?) of 0.05, having 3 classrooms, the classroom having high average score and low coefficient of variance (CV) was taught by integrating moral virtue, the classroom having the high average score and high coefficient of variance (CV) was taught by cooperative learning experience management, the classroom having low average score and high coefficient of variance (CV) was taught by the combination between the integrating moral virtue and co-operative learning experience management; and (3) all the classrooms in the level being 7-classroom were considered. The instructions were performed for 15 weeks. The moral virtue and working skills during the experiment in every week were evaluated. The exams of the knowledge understanding after the 9th and 15th week were performed. Finally the post-test was provided. The study results were found that (1) all the instructions could affect on the working skills, moral virtue, and academic ability with the statistical significant (?) of 0.05 for the groups of 1, 2, and 3 respectively; (2) mean, median, the 1st and 3rd quartiles of post-test result were increased compared with that of pre-test, whereas the standard deviation and the coefficient of variance were decreased; and (3) the co-operative learning experience management could remarkably provide the best achievements.en
dc.description.sponsorshipเงินทุนเพื่อการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551en
dc.format.extent3405401 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจริยธรรมen
dc.subjectการงานอาชีพและเทคโนโลยี -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en
dc.subjectการเรียนรู้en
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectการทำงานกลุ่มในการศึกษาen
dc.titleผลของการสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ ในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการเรียนรู้แบบร่วมมือen
dc.subject.keywordคุณธรรมจริยธรรมen
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jarassri.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.