Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15234
Title: | ฐานข้อมูลการสั่นไหวของพื้นดินเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ในประเทศไทย |
Other Titles: | Database of earthquake ground motions recorded in Thailand |
Authors: | มาณพ เจริญยุทธ |
Advisors: | ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chatpan.C@Chula.ac.th |
Subjects: | แผ่นดินไหว |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและศึกษาคลื่นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลอัตราเร่งและนำมาศึกษาอย่างเป็นระบบ การศึกษานี้พยายามรวบรวมบันทึกการสั่นไหวของพื้นดินจากหลายหน่วยงานในประเทศไทย แต่ได้ข้อมูลประวัติเวลาความเร่งและความเร็วส่วนใหญ่มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา เนื่องจากไม่สามารถได้ข้อมูลดังกล่าวจากหน่วยงานอื่น กรมอุตุนิยมวิทยามีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวระบบใหม่จำนวน 15 สถานี ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นระบบดิจิทัลที่ทันสมัยและสะดวก เพราะสามารถดึงข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต ข้อมูลจากเครื่องระบบใหม่นี้ได้ถูกรวบรวมประมวลผลและตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปจัดทำฐานข้อมูล ซึ่งสะดวกต่อการนำไปวิเคราะห์และใช้งานทางวิศวกรรม คลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ถูกแปลงให้เป็นประวัติเวลาของความเร่ง ความเร็ว และการกระจัด และถูกสร้างเป็นสเปกตรัมผลตอบสนองความเร่งเทียม ความเร็วเทียม และการเสียรูปสูงสุด จากนั้นงานวิจัยได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสมการลดทอนคลื่นแผ่นดินไหวที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยคำนวณค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของผลต่างระหว่างค่าความเร่งสูงสุดที่บันทึกได้กับค่าจากสมการลดทอน ซึ่งขึ้นกับขนาดแผ่นดินไหวและระยะห่างจากจุดกำเนิด ผลการศึกษาพบว่า สมการลดทอนของ Sadigh และคณะ (1997) และ Idriss (1993) ทำนายความเร่งสูงสุดได้ใกล้เคียงกับค่าที่บันทึกได้ในประเทศไทยมากที่สุด และการศึกษานี้ได้นำคลื่นแผ่นดินไหวที่รวบรวมได้ไปใช้ศึกษาการขยายความรุนแรงของคลื่นเนื่องจากชั้นดินอ่อนใน กทม. ซึ่งพบว่าสามารถขยายความรุนแรงได้ 3-4 เท่า ทำให้ความเร่งสูงสุดบนผิวดินอ่อนใน กทม. มีค่าประมาณ 0.097g โดยมีโอกาสรุนแรงกว่าค่านี้เท่ากับ 10% ในช่วงเวลา 50 ปี ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้ได้เสนอสเปกตรัมเพื่อการออกแบบโครงสร้าง ซึ่งได้จากสเปกตรัมแบบมัธยฐานและค่าที่ 84 เปอร์เซ็นไทล์ |
Other Abstract: | The objective of this research is to collect and study the earthquake ground motions recorded in Thailand because there is not yet any easily accessible database of ground motion data in Thailand that is convenient for engineering analysis and applications. This study tried to collect ground motions from various agencies, but most of the collected ground motion time history records were obtained from the Thai Meteorological Department (TMD), which has recently deployed new recording instruments at 15 stations across the country in 2006. Data from the new system can be downloaded from the internet and were processed and verified before included in the ground motion database. The processed data include ground accelerations, velocities, and displacements, and the pseudo-acceleration, pseudo-velocity, and deformation response spectra are also provided. Next, peak ground acceleration (PGA) data from the database were used in an analysis to determine the attenuation model suitable for Thailand. The square-root-of-mean-of-error-squares (RMS) was computed for each attenuation model. Lower RMS indicates lower error; thus, a more suitable model. It was found that the attenuation models for active tectonic regions proposed by Sadigh et al. (1997) and Idriss (1991) have the lowest RMS; thus, they are the most suitable attenuation models for Thailand. Ground motions from the database were also used in the study of amplification of earthquake ground motions due to soft soil deposit at Bangkok. It was found that the ground motion in Bangkok can be amplified by 3 to 4 times due to site response and the peak ground acceleration on soft soil in Bangkok could be about 0.097g, which has 10% probability of exceedence in 50 years. Lastly, smooth design response spectra derived from 84th percentile and median spectra were provided. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15234 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1917 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1917 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manop_Ch.pdf | 5.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.