Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/152
Title: การทดสอบกฎของเทย์เลอร์กับนโยบายการเงินของประเทศไทย
Other Titles: The Test of Taylor rule on Thai monetary policy
Authors: สุทธิวัชร์ สินธุประเสริฐ, 2522-
Advisors: ชโยดม สรรพศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: นโยบายการเงิน--ไทย
เศรษฐศาสตร์--ทฤษฎี
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการนำกฎของเทย์เลอร์ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงิน กฎของเทย์เลอร์จัดเป็นนโยบายการเงินแบบกฎประเภทหนึ่ง ซึ่งธนาคารกลางปรับอัตราดอกเบี้ยเป้าหมาย เพื่อตอบโต้กับความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อและผลผลิต โดยสมมติให้เป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางคือการทำให้ Loss function ซึ่งแสดงถึงค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างความผันผวนของตัวแปรทางการเงินต่างๆ มีค่าต่ำที่สุด การทดสอบเริ่มจากการประมาณค่าแบบจำลองระบบเศรษฐกิจ และใช้วิธีการ stochastic simulation ในการจำลองค่าตัวแปรต่างๆ เพื่อคำนวณหาความผันผวนของแต่ละตัวแปร รวมทั้งคำนวณหา loss function เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกฎของเทย์เลอร์แต่ละรูปแบบ ผลการศึกษาพบว่า กฎของเทย์เลอร์สามารถทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎของเทย์เลอร์รูปแบบใดที่ดีที่สุดเนื่องจากมีการ trade-off ระหว่างความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อและผลผลิตใน loss function ดังนั้นกฎของเทย์เลอร์ที่เหมาะสมที่สุดจึงขึ้นอยู่กับการกำหนด loss function ของธนาคารกลางว่าให้ความสำคัญกับตัวแปรทางการเงิน ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ ผลผลิต และอัตราดอกเบี้ยอย่างไร สำหรับธนาคารกลางที่ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อมากกว่าผลผลิต หรือให้ความสำคัญระหว่างอัตราเงินเฟ้อและผลผลิตเท่าๆ กัน กฎของเทย์เลอร์ที่เหมาะสมที่สุดคือ กฎที่กำหนดให้สัมประสิทธิ์ของอัตราดอกเบี้ยเป้าหมายต่ออัตราเงินเฟ้อและผลผลิต เท่ากับ 1.5 และ 0.5 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม ธนาคารกลางที่ให้ความสำคัญกับผลผลิตมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ กฎของเทย์เลอร์ที่เหมาะสมที่สุดคือ กฎที่มีค่าสัมประสิทธิ์ของอัตราเงินเฟ้อและผลผลิตเท่ากับ 1.5 และ 1.0 ตามลำดับ
Other Abstract: To examine a possibility for Thailand to use the Taylor rule, the policy rule in which a central bank adjusts target interest rate in response to output and inflation variabilities, as a guideline to complement monetary policy. One of the basic assumptions is that the central bank chooses target interest rate to minimize the loss function, a weighted sum of output and inflation variance. The testing methodology is as follow. First, the small macroeconomic model is estimated by using TSLS method. Second, alternative choices of Taylor rule are simulated using stochastic simulation method. Finally, from the results, the properties of the stochastic behavior of the variables are examined and the loss functions are computed. The simulation results show that the Taylor rule can improve Thailand's macroeconomic performance. However, there is no rule that dominates others because there is a trade-off between output and inflation in loss function. Hence, the efficient rule depends on form of the loss function, the weighted average which central bank gives to each variables i.e. inflation, output and interest rate. When the central bank put a higher weight on Inflation or equal weight between inflation and output in loss function, the efficient Taylor rule is the rule that has coefficients of inflation and output equal to 1.5 and 0.5, respectively. On the other hand, when the goal of central bank is to stabilize output rather than inflation, the efficient Taylor rule is the rule that has higher coefficient of output that is 1.0.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/152
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.605
ISBN: 9741730357
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.605
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthiwat.pdf881.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.