Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15317
Title: การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์
Other Titles: A study of discourse about people with HIV/AIDS in Thai society using the Nexus Analysis approach
Authors: จันทิมา เอียมานนท์
Advisors: กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Krisadawan.H@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์
ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา
โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวทางปฏิพันธวิเคราะห์ซึ่งเป็นการศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์ที่เชื่อมระหว่างมิติทางภาษาและมิติทางสังคมด้วยวิธีการทางชาติพันธุ์วรรณนา และ การวิเคราะห์ตัวบทเพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างภาษา บุคคล และวิถีปฏิบัติทางสังคมในการ สื่อความหมายเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์หรือผู้มีเชื้อเอดส์ในวาทกรรม วัตถุประสงค์ของการศึกษาพื่อทำ ความเข้า ใจว่าผู้มีเชื้อเอดส์ถูกนำเสนออย่างไรในวาทกรรมสาธารณะและ นำเสนอตนเองอย่างไรใน วาทกรรมภายในชุมชน และเพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมสาธารณะและวาทกรรมภายใน ชุมชน รวมทั้งภาษากับ อุดมการณ์ในการนำเสนอผู้มีเชื้อเอดส์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยมาจากข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลเอกสารมาจากวาทกรรมสาธารณะที่สื่อโดยผู้มีเชื้อเอดส์ และสื่อโดยบุคคลอื่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2547 ส่วนข้อมูลภาคสนามเป็นข้อมูลบทสนทนาของผู้มีเชื้อเอดส์ภายในชุมชน ผู้มีเชื้อ เอดส์สองชุมชน ได้แก่ โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ วัดพระบาทน้ำพุ ที่จังหวัดลพบุรี และศูนย์สุขภาพชุมชน ดอนแก้ว ที่จังหวัด เชียงใหม่ จากการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้นำเสนอผู้มีเชื้อเอดส์ในวาทกรรมสาธารณะ และวาทกรรม ภายในชุมชนทั้งสองชุมชน พบว่า กลวิธีทางภาษาในวาทกรรมสาธารณะมี 3 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีทางศัพท์ กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม และกลวิธีทางวาทศิลป์ที่ใช้สื่อความหมายด้านลบ และความหมาย ด้านบวกของผู้มีเชื้อเอดส์ ส่วนกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมภายในชุมชนพบ 2 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีทางศัพท์ และกลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนาทำให้เห็นว่า ผู้มีเชื้อเอดส์ สองชุมชน นำเสนอตนเองต่างกันตามวาทกรรมและวิถีปฏิบัติภายในชุมชนที่แตกต่างกัน ผู้มีเชื้อเอดส์ใน โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์สื่อความหมายผู้มีเชื้อเอดส์ด้านลบ ในขณะที่ผู้มีเชื้อเอดส์ใน ศูนย์สุขภาพ ชุมชนดอนแก้วสื่อความหมายผู้มีเชื้อเอดส์ด้านบวก การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรม สาธารณะ และวาทกรรมภายในชุมชนพบว่ามีความสัมพันธ์ที่เด่น 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์แบบเสริมกัน และ ความสัมพันธ์แบบแย้งกัน ความสัมพันธ์แบบเสริมกันใช้สื่อความหมายผู้มีเชื้อเอดส์ทั้งด้านลบและ ด้านบวก ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบแย้งกันใช้ในการตอบโต้กับความหมายด้านลบ วาทกรรมภายใน โครงการ ธรรมรักษ์นิเวศน์ส่วนใหญ่สัมพันธ์แบบเสริมกันกับวาทกรรมสาธารณะที่สื่อความหมาย ผู้มีเชื้อเอดส์ด้านลบ.
Other Abstract: This dissertation aims to study the discourse about People with HIV/AIDS (PWHA) in Thai society using the Nexus Analysis approach which brings together micro and macro analysis of linguistic and social theories with ethnographic method and textual analysis. It focuses on the ways PWHA are socially constructed within the nexus of discourse, people, and social practices to understand how PWHA are represented in public discourse and how they present themselves in their everyday discourse in community, and to understand the relationship of public and everyday discourse, and of language and ideology in discourse about PWHA. The data consists of a corpus of public discourse from 1984-2004 produced by PWHA themselves and by others who have not HIV/AIDS, and transcripts from PWHA conversations, along with ethnographic data in two different communities. One is Community Health Center established by PWHA in Chiang Mai and the other is Dhammaraksanivesana Foundation established by Buddhist monk in Lopburi. The textual analysis shows that three linguistic strategies which are lexical, discourse-pragmatic, and rhetorical used by PWHA and others to construct PWHA either negative or positive meanings in public discourse, but lexical and discourse-pragmatic strategies are used in everyday discourse. At the same time, ethnographic analysis shows that PWHA find the ways to present themselves either negatively or positively when interacting with others by appropriating various discourses and social practices within community. PWHA discourses of both communities are different. Dhammaraksanivesana discourse presents negative meaning, while Community Health Center discourse presents positive meaning of PWHA. The intertextual analysis uncovers two types of significant relations between the public discourse and PWHA discourse in communities. These are additional and oppositional relations. The former is appropriated either negative or positive meanings of PWHA, while the latter is widely used to resist the negative meaning. The analysis illustrates that the Dhammaraksanivesana Foundation discourse is mostly related to negative meaning in public discourse, while the Community Health Center discourse is related to positive meaning and resist the negative one. Finally, the interpretation of language and ideology reveals that medical, religious, state development, and human rights ideologies are crucially underlined PWHA meanings varied in discourse.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15317
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.362
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.362
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jantima.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.