Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1533
Title: การบำบัดน้ำเสียบ้านเรือนโดยใช้บึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืช
Other Titles: Domestic wastewater treatment by subsurface constructed wetlands combined with evapotranspiration systems
Authors: ศักดิ์ชัย อังคสิงห์, 2523-
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: น้ำเสียชุมชน
น้ำเสีย--การบำบัด
บึงประดิษฐ์
การคายระเหย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงการทำงานของระบบบึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืชในการบำบัดน้ำเสียบ้านเรือน โดยปลูกต้นธรรมรักษา (Heliconia psittacorum cv 'Lady Di') และต้นเข็ม (Ixora coccinea, L) ในถังที่มีการไหลในแนวดิ่ง และในกระบะที่มีการไหลในแนวนอนตามลำดับ โดยใช้แบบจำลองในระดับห้องปฏิบัติการ น้ำเสียที่ใช้ในการทดลองเป็นน้ำเสียจากหอพักนิสิตที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นแล้ว โดยตัวกลางที่ใช้ได้แก่ตัวกลางทรายปนหิน การทดลองนี้ปรับเปลี่ยนอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ต่างกัน 2 ค่า ได้แก่ 8.23 และ 16.46 ซม. ต่อวัน และรูปแบบการให้น้ำเสียเข้าสู่ระบบจากการให้น้ำแบบต่อเนื่อง เป็นการให้น้ำแบบเป็นระยะ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดมลสาร เมื่อเปลี่ยนรูปแบบของการให้น้ำและอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ต่างกัน จากผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพสูงสุดของถังที่มีการไหลในแนวดิ่ง ได้แก่การให้น้ำแบบเป็นระยะที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ 8.23 ซม. ต่อวัน มีประสิทธิภาพในการบำบัด ซีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ทีเคเอ็น แอมโมเนียไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากับ 71.27 63.45 64.92 88.00 และ 17.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำแบบต่อเนื่องที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์เดียวกัน มีประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง ซึ่งประสิทธิภาพในการบำบัด ซีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ทีเคเอ็น แอมโนเนียไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากับ 62.06 63.67 67.92 83.24 82.93 และ 18.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดของระบบ จะลดลงเมื่ออัตราภาระชลศาสตร์สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมีค่าบีโอดี ทีเคเอ็น ของแข็งแขวนลอย อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ก. ส่วนประสิทธิภาพของระบบบึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืชที่มีการให้น้ำแบบต่อเนื่อง ที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ 8.23 ซม. ต่อวัน ให้ผลเช่นเดียวกับประสิทธิภาพของถังที่มีการไหลในแนวดิ่ง สำหรับประสิทธิภาพสูงสุดของระบบได้แก่ การให้น้ำแบบเป็นระยะที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ 8.23 ซม. ต่อวัน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัด ซีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ทีเคเอ็น แอมโมเนียไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากับ 91.81 92.08 91.05 98.27 96.48 และ 96.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อัตราการระเหยน้ำของระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.68 ลิตรต่อวัน อัตราการดูดซึมน้ำไปใช้ของต้นเข็มอยู่ในช่วง 2.50-3.17 มม. ต่อวัน ขนาดของพื้นที่ที่จะติดตั้งระบบบึงประดิษฐ์ ที่มีการไหลใต้
Other Abstract: This study was conducted to use subsurface constructed wetlands combined with evapotranspiration systems treating domestic wastewater. The treatment system were planted with Heliconia psittacorum cv 'Lady Di' and Ixora coccinea, L in vertical flow constructed wetlands and evapotranspiration bed, respectively. The lab-scale subsurface constructed wetlands combined with evapotranspiration systems were used to treat partially treated wastewater from apartment. The media used in the treating system were gravel and sand bed. This research compared the treatment efficiency of the wastewater feeding pattern and hydraulic loading rates with two different values. Hydraulic loading rates varied of 8.23 and 16.46 cm./d. were feed to the system with different pattern namely: continuous feeding and step feeding. The experimental results revealed that the highest removal efficiency of subsurface constructed wetlands can achieved with the step fed pattern at hydraulic loading rates (HLR) of 8.23 cm./d. The system can remove COD, BOD, SS, TKN, ammonia nitrogen and TP at 71.27% 63.45% 64.92% 88.00% 88.16% and 17.64%, respectively. Comparing with the systems with continuous fed pattern at the same HLR, the remove efficiency were lower and can be achieved at 62.06% 63.67% 67.92% 83.24% 82.93% and 18.23, respectively. The results also showed that the removal efficiency of the systems was decreased with increasing HLR. However the treated wastewater meet the Thai effluent standard. The result of subsurface constructed wetlands combined with evapotranspiration systems with continuous fed pattern at hydraulic loading rate of 8.23 cm./d. also showed the same trend of the subsurface constructed wetlands. The highest removal efficiency can achieved with the step fed pattern at hydraulic loading rates (HLR) of 8.23 cm./d. The removal of COD BOD SS TKN ammonia nitrogen and TP were achieved at 91.81% 92.08% 91.05% 98.27% 96.48% and 96.67% respectively. The design criteria for the real implementation of subsurface constructed wetlands combined with evapotranspiration systems can be set based on this study. The average evaporation rate of the evapotranspiration system is 21.68 I/d. while the plants transpiration rate 2.50-3.17 mm/d. The area required for such system for treating a household wastewater is 78 sq.m.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1533
ISBN: 9741768796
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakchai.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.