Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15373
Title: | การดัดแปลงโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินด้วยคอลลาเจนไฮโดรไลเสท |
Other Titles: | Modification of gelatin scaffold with collagen hydrolysate |
Authors: | ฟ้าใส วิวัฒน์วงศ์วนา |
Advisors: | โศรดา กนกพานนท์ ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sorada.K@chula.ac.th piyamas54@yahoo.com |
Subjects: | เจลาติน วิศวกรรมเนื้อเยื่อ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในงานวิจัยนี้ศึกษาผลของการปรับปรุงโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินสำหรับงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อผิวหนังด้วยวิธีการผสมและวิธีการดัดแปลงพื้นผิวด้วยคอลลาเจนไฮโดรไลเสทปริมาณต่างๆ โดยมีการเชื่อมโยงพันธะด้วยวิธีการใช้ความร้อน (DHT) และสารเคมี (dimethylaminopropyl carbodiimide hydrochloride/N-hydroxysuccinimide; EDC/NHS) จากนั้นทำการศึกษาลักษณะสมบัติทางกายภาพ ทางกล ทางเคมี และทางชีววิทยาของโครงเลี้ยงเซลล์ที่มีปริมาณคอลลาเจนไฮโดรไลเสทที่ต่างกัน โครงเลี้ยงเซลล์ทุกแบบมีรูพรุนต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอและมีขนาดเฉลี่ย ที่ 70-200 ไมครอน ค่ามุมสัมผัสน้ำและอุณหภูมิในการเสื่อมสภาพมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณคอลลาเจนไฮโดรไลเสท ค่าความทนทานต่อแรงกดของโครงเลี้ยงเซลล์ถูกปรับปรุงได้โดยใช้สารเคมี EDC/NHS ในการเชื่อมโยงพันธะ การย่อยสลายในสภาพภายนอกร่างกายโดยใช้เอนไซม์คอลลาจีเนสเร็วขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณคอลลาเจนไฮโดรไลเสท การยึดเกาะและการเจริญเติบโตของเซลล์ L929 mouse fibroblasts บนโครงเลี้ยงเซลล์ที่ถูกปรับปรุงไม่มีความแตกต่างกับโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินที่ไม่ถูกปรับปรุง ดังนั้นการเติมคอลลาเจนไฮโดรไลเสทเข้าไปในโครงเลี้ยงเซลล์จึงไม่ส่งเสริมการเข้ากันได้กับเซลล์ในโครงเลี้ยงเซลล์เจลาติน อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตและเชื่อมโยงพันธะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์โดยที่การเชื่อมโยงพันธะด้วยสารเคมี EDC/NHS สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ แผ่นฟิล์มเจลาตินแบบดัดแปลงพื้นผิวด้วยคอลลาเจนส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ แต่ผลการเติบโตของเซลล์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในโครงเลี้ยงเซลล์ดัดแปลงแบบ 3 มิติ |
Other Abstract: | Modification of gelatin scaffold for skin tissue engineering were studied by blending or surface crosslinking with various amounts of collagen hydrolysate (CH). The crosslinking techniques, such as dehydrothermal crosslinking (DHT) and chemical crosslinking (dimethylaminopropyl carbodiimide hydrochloride/N-hydroxysuccinimide; EDC/NHS) were used. Physical, mechanical, chemical and biological properties of scaffolds with different CH contents were studied. All scaffolds had interconnected pore structures with average pore sizes of 70-200 um. Adding CH decreased water contact angle and degradation temperature of scaffolds. Compressive modulus of scaffolds could be improved by using EDC/NHS as a crosslinking agent. The in vitro biodegradation in collagenase solution increased as the CH contents increased. The attachment and proliferation of L929 mouse fibroblasts on all modified scaffolds were similar to those of the unmodified gelatin scaffolds. These results implied that adding CH was not benefit cell compatibility to gelatin scaffolds. However, the different scaffold preparation methods affected cell proliferation. Scaffolds crosslinked using EDC/NHS promoted in vitro cell proliferation. The gelatin films with surface modification with collagen could significantly improved L929 mouse fibroblasts proliferation. However, these enhance effects were not found in the 3-D scaffolds of the same materials. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15373 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1443 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1443 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.