Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15407
Title: การใช้เทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่กับวิถีชีวิตประจำวันของวัยรุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Other Titles: New media technology use and daily life of teenagers in Muang district, Sakonnakhon province
Authors: ภัทร์ศินี แสนสำแดง
Advisors: ขวัญเรือน กิติวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kwanruen.K@chula.ac.th
Subjects: การรู้เท่าทันสื่อ
อินเตอร์เน็ตกับวัยรุ่น
เทคโนโลยีกับเยาวชน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อเข้าใจถึงความสามารถในการเข้าถึงสื่อมวลชนและเทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ ตลอดจนทักษะในการวิเคราะห์และตีความเนื้อหาสาร 2. เพื่อวิเคราะห์ถึงผลของการใช้เทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมด้านต่างๆในการดำเนินชีวิตประจำวันของวัยรุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดและแบบจำลองการรู้เท่าทันสื่อ แนวคิดการหลอมรวมเทคโนโลยีสื่อ แนวคิดเทคโนโลยีสื่อสารเป็นตัวกำหนด แนวคิดการใช้สื่อกับ วิถีชีวิตประจำวันของวัยรุ่น และแนวคิดความต้องการของวัยรุ่น โดยระเบียบวิธีวิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จ.สกลนคร ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวัยรุ่นสามารถเข้าถึงสื่อทุกประเภทด้วยความตระหนักรู้ในคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละสื่อ และตัดสินใจเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อและเนื้อหาสารเพื่อตอบสนองความต้องการและรสนิยมส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเลือกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ร่วมกับหรือทดแทนสื่อมวลชนบางประเภท รวมทั้งมีการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อการสื่อสารผ่านทางช่องทางเทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึง การใช้เทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โรงเรียน และกลุ่มเพื่อนฝูง รวมทั้งการใช้เวลาว่างและการใช้สื่อมวลชน ดังนั้น รูปแบบการสื่อสารในชีวิตประจำวันของวัยรุ่นจึงมีแนวโน้มไปสู่การสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะภายใต้บริบทชุมชนเสมือน ที่ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา และมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างกันได้ทันที
Other Abstract: The objectives of this study are 1. to understanding the ability to access mass media and new media technology including the skills of analysing and interpreting media message of teenagers 2. to analysing the consequences on new media technology use of teenagers’ daily life activies. The concept of study base on media literacy, media technology convergence, communication technology determinism, youth’s needs and everyday life. The in-depth interview technique was chosen for collecting the data from teenagers who study in secondary degree at Sakolrajwittayanukul school, Sakon Nakhon Province. Results indicate that teenagers can be able access to many kinds of media and aware of their specific characteristics, they also have skills and competencies to select each media and each content to response their personal needs and tastes. Especially they gain the functional uses from new media technology combine with or replace some mass media. Nevertheless they have ability to create their own contents via new media technology. Moreover, the result of this study also indicate that new media technology use has consequences on changing the pattern of teenagers’ daily life activities which are the relation with in family, school and among friends including pattern of available time use and mass media use. Therefore, communication pattern of teenagers’ daily life tend to be happen in public spheres with in virtual community context, no time, no space and simultaneous reaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15407
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2166
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2166
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patsinee_Sa.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.