Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15420
Title: ผลของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้น 500 และ 1000 ส่วนในล้านส่วนต่อการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ : การศึกษาในห้องปฏิบัติการ
Other Titles: The effect of 500 and 1000 ppm fluoride dentifrices on growth of cariogenic bacteria : in vitro
Authors: พิมพิไล ลิ้มสมวงศ์
Advisors: วัชราภรณ์ ทัศจันทร์
พัชรา พิพัฒนโกวิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Twachara@chula.ac.th
Patchara.P@Chula.ac.th
Subjects: ยาสีฟัน
ฟลูออไรด์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถติดต่อได้ เกิดขึ้นโดยการทำลายโครงสร้างของฟันจากแบคทีเรียที่มีความสามารถในการผลิตกรดที่พบในคราบจุลินทรีย์ ฟลูออไรด์เป็นสารสำคัญที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ นอกจากนี้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ได้ถูกแนะนำมาใช้ในการลดความชุกของการเกิดฟันผุ นอกจากกลไกของฟลูออไรด์ในการลดการละลายของเคลือบฟันและส่งเสริมการคืนกลับของแร่ธาตุแล้ว ฟลูออไรด์ยังมีผลรบกวนเมตาบอลิซึมและยับยั้งเชื้อแบคทีเรียด้วย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 และ 1000 ส่วนในล้านส่วนซึ่งมีจำหน่ายในประเทศไทย สเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ATCC 25175 แลคโตแบซิลลัส เคซิไอ IFO 3533 และ สเตรปโตคอคคัส ซอร์บรินัส OMZ 176a ได้ถูกนำมาทดสอบกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน 6 ชนิด และ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนอีก 6 ชนิด โดยนำยาสีฟันมาละลายน้ำ นำมาวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์อิออนโดยฟลูออไรด์อิเล็กโทรด และนำมาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธีการแพร่ในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบวุ้น จากนั้นนำมาวัดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณที่ไม่มีเชื้อขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Image Pro Plus (version 4.5) และนำมาคำนวณหาพื้นที่บริเวณที่ไม่มีเชื้อขึ้น ผลการทดสอบภายในกลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วนพบว่าพื้นที่บริเวณที่ไม่มีเชื้อขึ้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) แต่เมื่อทดสอบภายในกลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 และ 1000 ส่วนในล้านส่วน พบว่ายาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนให้ผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียมากกว่ายาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่ละลายน้ำเป็นฟลูออไรด์อิออนมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ความเข้มข้นอื่นๆต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุทั้งในห้องปฏิบัติการและคลินิกต่อไป
Other Abstract: Dental caries is an infectious, communicable disease resulting in destruction of tooth structure by acid-forming bacteria found in dental plaque. Fluoride plays a key role in caries prevention. Fluoride toothpaste is recommended for using reducing caries prevalence. The mechanism of fluoride are reduce enamel solubility, enhance enamel remineralization, moreover, fluoride can affect bacteria. The purpose of this study was to compare antimicrobial effect of 500 and 1000 ppm fluoride dentifrices that distributed in Thailand. Streptococcus mutans (ATCC 25175) Streptococcus sorbrinus (OMZ 176a) Lactobacillus casei (IFO 3533) were involved in this study. Fluoride dentifrices brought from the local market, which 6 dentifrices were containing 500 ppm fluorides and 6 dentifrices were containing 1000 ppm fluoride. Supernatants from each were prepared, soluble fluoride ion was analyzed by fluoride electrode, and bring to test against bacteria in agar plates by agar diffusion method. The diameter of the bacterial zone of inhibition was measurement by Image Pro Plus[registered sign] program (version 4.5) and calculated to bacterial inhibition area. The results show that there were no significant differences among the mean bacterial inhibition zone of 500 ppm fluoride dentifrices(p>.05). In contrast, there were statistically significant differences among mean bacterial inhibition zone of 1000 ppm fluoride dentifrices(p<.05). When compare between 500 and 1000 ppm fluoride dentifrices, there was a statistically significant difference (p<.05). The present study was found that the quantity of soluble fluoride ions from fluoride dentifrices has correlation with antimicrobial effect and point out to need for further study in vitro and in vivo to compare clinical effectiveness in cariogenic bacterial inhibition with other concentration of fluoride dentifrices.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15420
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.543
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.543
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpilai_Li.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.