Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15533
Title: | ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตและการตรึงรูปไลเพสจาก Fusarium solani |
Other Titles: | Optimal conditions for lipase production and immobilization from Fusarium solani |
Authors: | ศุภร อังษานาม |
Advisors: | จิตรตรา เพียภูเขียว วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jittra.K@chula.ac.th Warawut.C@Chula.ac.th |
Subjects: | เอนไซม์ตรึงรูป ไลเปส น้ำมันรำ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของแหล่งคาร์บอน แหล่งไนโตรเจนในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว และอุณหภูมิ เพื่อปรับปรุงการผลิตไลเพสจาก Fusarium solani CU103 จากการทดสอบแหล่งคาร์บอนชนิดต่าง ๆ พบว่า น้ำมันรำข้าวที่ 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่าแอกทิวิตีจำเพาะสูงสุด คือ 0.84 ± 0.06 ยูนิตต่อมิลลิกรัม เมื่อนำมาเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีการเติมเปบโตนที่ 1.0 เปอร์เซ็นต์ เป็นแหล่งไนโตรเจน ให้ค่าแอกทิวิตีจำเพาะเพิ่มขึ้นเป็น 3.64 ± 0.05 ยูนิตต่อมิลลิกรัม อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผลิตไลเพสของราสายพันธุ์นี้อยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส นำสารละลายไลเพสที่ผลิตได้ทำให้มีความเข้มข้นขึ้นด้วยวิธีการอัลตราฟิลเตรชัน แล้วนำไปทำการตรึงรูปไลเพสบนวัสดุค้ำจุน 5 ชนิด ได้แก่ AB8 D4020 H103 NKA และ NKA9 ด้วยวิธีตรึงรูปโดยการเชื่อมขวางด้วยสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ นำไลเพสตรึงรูปทดสอบความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสพบว่า ไลเพสตรึงรูปบนวัสดุค้ำจุนชนิด NKA ที่ความเข้มข้นของสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ 2.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่าการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 17.35 ± 0.83 ยูนิตต่อกรัมของไลเพสตรึงรูป และทดสอบความเสถียรของไลเพสตรึงรูปหลังจากการตรึงรูป พบว่า มีความเสถียรที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่างที่ 7.0 และทดสอบความเสถียรต่อสารละลายอินทรีย์พบว่าเฮกเซนมีความเสถียรดีที่สุด การนำไลเพสตรึงรูปกลับมาใช้เร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสมีค่าการเร่งที่ลดลงเป็น 28.75 ± 1.20 เปอร์เซ็นต์ หลังจากใช้ไลเพสตรึงรูป 12 ครั้ง เมื่อศึกษาการนำไลเพสตรึงรูปเร่งปฏิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน โดยศึกษาผลของอัตราส่วนโดยระหว่างน้ำมันกับเมทานอล และปริมาณน้ำ ในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน พบว่า ภาวะที่เหมาะสมของการเกิดปฏิกิริยา คือ น้ำมันปาล์ม 3 กรัม อัตราส่วนโดยโมลน้ำมันต่อเมทานอลเป็น 1 : 4 ไม่มีน้ำในปฏิกิริยา อุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียส และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งสามารถผลิตเมทิลเอสเทอร์ได้ถึง 92.62 ± 3.27 เปอร์เซ็นต์ การนำไลเพสตรึงรูปกลับมาใช้ซ้ำ เมื่อใช้เฮกเซน และไอโซโพรพานอล ล้างส่วนของกลีเซอรอลออกในช่วงระหว่างนำไลเพสตรึงรูปกลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งมีค่าแอกทิวิตีที่ลดลงเกิดเป็นเมทิลเอสเทอร์เท่ากับ 25.41 ± 0.47 และ 18.44 ± 0.33 เปอร์เซ็นต์ หลังจากใช้ไลเพสตรึงรูป 6 ครั้ง ตามลำดับ |
Other Abstract: | The effects of different carbon sources and nitrogen sources added to basal medium and temperature on lipase from Fusarium solani CU103 were studied with the aim of improving enzyme production. Among carbon sources tested, refined rice bran oil at the concentration of 1.0% (v/v) was found to be the best carbon source with the maximum lipase specific activity of 0.84 ± 0.06 U.mg-1. When this medium was supplemented with peptone as nitrogen source at the concentration of 1.0% (w/v), the lipase specific activity increased to 3.64 ± 0.05 U.mg-1. The optimal temperature for lipase production of the fungal strain was 30℃. To study the immobilization of lipase, the crude enzyme was concentrated using ultrafiltration method. The concentrated crude lipase was immobilized within different macroporous resins such as AB8, D4020, H103, NKA and NKA9 using cross-linking method with different concentration of glutaraldehyde. The results showed that the immobilized lipase within NKA at the concentration of 2.0 % glutaraldehyde gave the highest hydrolysis activity of 17.35 ± 0.83 U.g-1of immobilized lipase. The stability of lipase activity of immobilized lipase was tested. The immobilized lipase stabilized at 35℃ and pH 7.0. Immobilized lipase was treated with several organic solvents, hexane gave the highest stability. The immobilized lipase was lost hydrolysis activity when was subjected to repeat uses. The activity decreased to 28.75 ± 1.20% of which enzymatic activity remained after 12 batches. Using the immobilized lipase, the effects of oil/alcohol molar ratio and water concentration in the transesterification reaction were investigated. The optimal conditions for the reaction 3 g of palm oil were: 1:4 oil/methanol molar ratio, no water and 40℃ for 24 h. Maximum methyl ester yield was 92.62 ± 3.27 % The immobilized lipase was lost activity in transesterification reaction when was subjected to repeat uses. When hexane and isopropanol were adopted to remove by-product glycerol during repeated use of the immobilized lipase, the activity decreased to 25.41 ± 0.47% and 18.44 ± 0.33% of which enzymatic activity remained after 6 batches, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15533 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.801 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.801 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suporn_an.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.