Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15560
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorชญานิน คมพจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-07-28T11:58:51Z-
dc.date.available2011-07-28T11:58:51Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15560-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนซ่อมเสริม เรื่องทศนิยมและเศษส่วนโดยการสอนซ่อมเสริมโดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซม 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนซ่อมเสริม เรื่องทศนิยมและเศษส่วนโดยการสอนซ่อมเสริมโดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซม 3) ศึกษาพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนจากการสอนซ่อมเสริมโดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการสอนซ่อมเสริมโดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซม และแบบวัดทักษะการคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิต ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนซ่อมเสริม โดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนซ่อมเสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนซ่อมเสริม โดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซมมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนซ่อมเสริม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังจากนักเรียนผ่านการเรียนซ่อมเสริมพบว่า จำนวนนักเรียนที่แก้ไขข้อบกพร่องในการคำนวณได้ทุกข้อคิดเป็น 45% ของนักเรียนทั้งหมด ข้อบกพร่องที่พบมากที่สุดคือ ข้อบกพร่องในการลำดับเครื่องหมาย.en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to compare mathematics learning achievement of eighth grade students before and after remedial teaching using repair theory, 2) to compare attitude toward mathematics of eighth grade students before and after remedial teaching using repair theory, and 3) to study development of students learning from remedial teaching using repair theory. The subjects were 20 eighth grade students of Suratthani School. The research instruments were the mathematics learning achievement test and attitude toward mathematics test. The experimental materials were lesson plans for remedial teaching by using repair theory and the test for computation skill. The data were analyzed by using frequency, mean of arithmetic, mean of percentage, standard deviation, and t-test.The results of the study revealed that: 1. The mathematics learning achievement of eighth grade students after remedial teaching using repair theory was higher than that before remedial teaching using repair theory at .05 level of significance. 2. The difference between attitude toward mathematics before and after remedial teaching using repair theory of eighth grade students was not significant. 3. After remedial teaching using repair theory, 45% of the students can repair all computational errors and most of the computational errors were precedence or order of operation.en
dc.format.extent2796897 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1416-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสอนซ่อมเสริมen
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การสอนซ่อมเสริมen
dc.titleผลของการสอนซ่อมเสริมโดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานีen
dc.title.alternativeEffects of using repair theory in remedial teaching on mathematics learning achievement and attitude toward mathematics of eighth grade students in Suratthani provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAumporn.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1416-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayanin_kh.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.