Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15563
Title: การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน
Other Titles: Development of a holistic health promotion model for obese lower secondary school male students
Authors: นราภรณ์ ขันธบุตร
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Thanomwong.K@Chula.ac.th
Aimutcha.W@chula.ac.th
Subjects: การส่งเสริมสุขภาพ
โรคอ้วน
นักเรียนมัธยมศึกษา
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา พัฒนาและเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวม สำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายที่มีภาวะอ้วนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1 ถึง ปีที่ 3 อายุระหว่าง 13-15 ปี โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบ เจาะจง และมีความสมัครใจ จำนวนทั้งหมด 72 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 36 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมประกอบด้วย 4 กิจกรรมคือ การประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม กิจกรรมเกมสัมพันธ์และโปรแกรมการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 50 นาที ใช้แบบวัดสุขภาพองค์รวมและทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 สัปดาห์ที่10 และระยะติดตามผลสัปดาห์ที่ 14 แล้ว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเปรียบเทียบผลของการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการทดสอบค่าที และเปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ตามวิธีของบอนเฟอร์โรนี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 กิจกรรม มีความเหมาะสมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.75-1.00 และมีค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.93 2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 ด้าน คือ สุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคมและสุขภาพทางปัญญา ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 สุขภาพทางปัญญา และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 10 สุขภาพทางจิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่าหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 10 ทุกตัวแปร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นดัชนีมวลกาย และเปอร์เซ็นต์ไขมัน สรุปได้ว่ารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน มีความตรง ความเที่ยง และมีประสิทธิผลต่อสุขภาพองค์รวมและสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ดังนั้น สามารถนำไปใช้กับเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วนได้.
Other Abstract: To develop and compare a holistic health promotion model for obese lower secondary school male students. The sample group was consisted of 72 voluntary obese lower secondary school male students, aged 13-15 years old whom were obtained by purposive sampling. This sample group was divided into two groups with 36 students in each group: experimental group and control group. The experiment was conducted by using the holistic health promotion model comprising 4 activities: 1) Sharing and Learning 2) Appropriate diet 3) Playing games and 4) Circuit training. The experiment was 3 days per week, and 50 minutes per day for 10 weeks. Health-related physical fitness and holistic health test were done before the experiment, fifth week and tenth week, and monitoring at the fourteenth week. Obtained data were statistically analyzed for percentage, mean, standard deviation, one-way analysis of variance with repeated measures and independent t-test. Bonferroni’s method of dual comparison was employed when the difference was found at significant level of .05. Results of the study revealed the following: 1. The 4 activities of the holistic health promotion model were appropriate for obese lower secondary school male students. Its content was consistent with the conformity index range of 0.75-1.00. In addition, the Cronbach’s alpha was 0.93. 2. Comparison of the four aspects of the average holistic health score, i.e. physical, mental, social, and wisdom health, between the two sample groups were found to be a statistical significant difference at the level of .05 in wisdom health in the fifth week and in mental health in the tenth week. 3. After the tenth week of the experiment, there was a statistical significant difference at the level of .05 between the experimental and control groups in term of health-related physical fitness, except body mass index and body fat percentage. In conclusion, the development of a holistic health promotion model for obese lower secondary school male students was consistent with an effectiveness on health-related physical fitness and holistic health. Thus, it could be applicable for the obese teenagers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15563
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.595
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.595
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
naraporn_ kh.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.