Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/155
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชโยดม สรรพศรี-
dc.contributor.authorพรพรรณ ชื่นประเสริฐสุข, 2524--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-05-29T10:12:39Z-
dc.date.available2006-05-29T10:12:39Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741745974-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/155-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหัตถอุตสาหกรรมเซรามิกประเภทศิลาดล หรือ เซลาดอน (Celadon) ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาถึงโครงสร้างการผลิต การตลาดและการส่งออกโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม และทำการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันโดยใช้แนวคิด Diamond Model ของ Michael E. Porter รวมทั้งใช้แนวคิดจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis) นอกจากนี้ทำการวิเคราะห์โอกาสในการส่งออกและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยแนวทางคลัสเตอร์ (Cluster) ว่าหัตถอุตสาหกรรมเซรามิกศิลาดลเป็นคลัสเตอร์หรือไม่ และสามารถใช้แนวทางคลัสเตอร์ในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้หรือไม่ จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีโรงงานเซรามิกประเภทศิลาดลทั้งสิ้นในจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 20 แห่ง ซึ่งมีโรงงานที่ยังทำการผลิตอยู่ 15 โรงงาน สามารถจำแนกเป็นโรงงานขนาดกลาง 7 โรงงาน และขนาดเล็ก 8 โรงงาน ทั้งสามารถแบ่งตามลักษณะการผลิตคือ มี 8 โรงงานที่ทำการผลิตศิลาดลทั้งหมด และอีก 7 โรงงานทำการผลิตศิลาดลร่วมกับเซรามิกทั่วไป ผลของการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันโดยใช้ Diamond Model ตามองค์ประกอบทั้งสี่พบว่า ด้านปัจจัยการผลิตมีข้อได้เปรียบคือ มีแหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่น แรงงานมีฝีมือ มีรากฐานทางวัฒนธรรม ข้อด้อยคือคุณภาพวัตถุดิบไม่คงที่ ระดับการศึกษาของแรงงานต่ำ ขาดนักออกแบบ ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านปัจจัยสนับสนุน มีข้อได้เปรียบคือ มีอุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำครบวงจร มีสถาบันส่งเสริม สนับสนุนและให้ความรู้อยู่ในพื้นที่ ข้อด้อยคือขาดความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน และหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้อง ด้านปัจจัยอุปสงค์มีข้อได้เปรียบคือ ความต้องการของลูกค้าในประเทศมีความละเอียดและพิถีพิถันในตัวศิลาดล แต่มีข้อด้อยตรงที่ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับศิลาดลน้อยในด้านคุณค่าและกระบวนการผลิต ส่วนด้านกลยุทธ์ โครงสร้างขององค์กร และสภาวะการแข่งขัน มีข้อได้เปรียบเกี่ยวกับกลยุทธ์การผลิต เช่น มีเทคนิค ภูมิปัญญา กลยุทธ์ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การแข่งขันสูงด้านรูปแบบและคุณภาพ แต่มีข้อด้อยคือ ขาดความรู้กลยุทธ์การตลาดและการส่งเสริมการตลาด ขาดทัศนคติในการพัฒนาตนเองและธุรกิจ จากการศึกษาพบว่าหัตถอุตสาหกรรมเซรามิกศิลาดลในเชียงใหม่ไม่ได้เป็นคลัสเตอร์ เป็นเพียงแหล่งธุรกิจของอุตสาหกรรมที่มีการก่อตั้งภายในพื้นที่เดียวกัน แต่ลักษณะดังกล่าวเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการเป็นคลัสเตอร์โดยธรรมชาติ หรือเป็นคลัสเตอร์ที่ยังไม่พัฒนา ซึ่งขาดความเชื่อมโยงและความร่วมมือ ถ้าหากได้รับการแก้ไขและสนับสนุนเช่น สร้างกิจกรรมระหว่างผู้ผลิตศิลาดล จัดหาผู้ประสานงานเพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลาง จัดทำระบบติดตามและประเมินผลคลัสเตอร์เซรามิกศิลาดล เป็นต้น ก็จะสามารถพัฒนาเป็นคลัสเตอร์สมบูรณ์ที่ยั่งยืนได้en
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is 1) to study the production, marketing and exporting structures of celadon handicraft industry using industrial economics theory, 2) to analyze the industry competitiveness based on Diamond Model concept of Michael E. Porter and SWOT analysis, and 3) to analyze the celadon handicraft industry in Chiangmai province whether it is cluster or not and the possibility to use the cluster concept to increase export opportunity and competitiveness. The collected information indicates that there are 20 celadon factories in Chiangmai province but only 15 factories are still in business. These factories can be classified in 2 aspects. First, by the size of factory, there are 7 medium-sized factories and 8 small factories. Second, by the product of factory, there are 8 factories produce only celadon product and 7 factories produce celadon and other kinds of ceramic concurrently. According to the competitive analysis of Diamond Model, the results are as follows. The advantages of factor conditions are availability of raw material in local area, skilled labor ,and cultural foundation, while the disadvantages are inconsistent quality of raw material, low-educated labor, and the lack of designer and technology. The advantages of related and supporting industries are linkages of industries from upstream to downstream and supporting institution, while the disadvantage is the lack of cooperation among the producers and related government sectors. The advantage of demand conditions is the sophisticated customerʼs domestic demand while the disadvantage is insufficient knowledge of consumers about celadon handicraft in value and production process. The advantages of firm strategy, structure and rivalry are technique, intellect, e-commerce strategy, high competition in style and quality, while the disadvantages are the lack of knowledge in marketing and promotion strategy, and attitude in self-development and entrepreneurship. The empirical results indicate that producers in the celadon industry in Chiangmai province are not gathering together as the cluster. Those producers within this industry do not have close relationship and cooperation among themselves. The celadon industry and supporting industry just locate in the same region but the cluster is underachieved. However, the celadon industry can develop to be effective and sustainable cluster. The manufacturers and other supporting industries should work together by starting joint activities such as the marketing and designing. Most important thing they should be a coordinator to organize joint activities, monitor the progress and evaluate the project.en
dc.format.extent3418506 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1032-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเครื่องเคลือบดินเผาen
dc.subjectการแข่งขันทางการค้าen
dc.subjectอุตสาหกรรม--เซรามิคศิลาดen
dc.subjectการส่งเสริมอุตสาหกรรมen
dc.titleความสามารถในการแข่งขันของหัตถอุตสาหกรรมเซรามิก : กรณีศึกษา เซรามิคศลาดลen
dc.title.alternativeCompetitiveness in handmade ceramic industry : celadonen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1032-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpan.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.