Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1561
Title: ความชุกของการได้รับโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายของคนงานโรงงานผลิตสี : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Prevalence of toluene intake among workers in paint manufactures
Authors: วิไล ชินเวชกิจวานิชย์
สุนทร ศุภพงศ์
ชนิดา พลานุเวช
วีนัส อุดมประเสริฐกุล
สมชาย อิสระวาณิชย์
วราพรรณ ด่านอุตรา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
Subjects: โทลูอีน
โรงงานผลิตสี--ลูกจ้าง--สุขภาพและอนามัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ ต้องการศึกษาความชุกของการได้รับโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายของคนงานในโรงงานผลิตสีสองแห่งที่มีการจัดระเบียบภายในโรงงานแตกต่างกัน การศึกษาประกอบด้วยการวัดระดับโทลูอีนในเลือดโดยวิธีเฮดสเปสแก๊สโครมาโตกราฟี วัดระดับกรดฮิพพิวริคในปัสสาวะโดยวิธีคัลเลอรีเมทรี และศึกษาผลกระทบของโทลูอีนต่อสุขภาพอนามัยของคนงาน โดยตรวจเลือดทางโลหิตวิทยา (ฮีโมโกลบินปริมาณเม็ดเลือดขาว) การทำงานตับ (บิลิรูบินรวมอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส ทรานสอะมีเนสทรานสเฟอเรส) การทำงานของไต (ยูเรียไนโตรเจน ครีเอตินีน) และเก็บข้อมูลความเจ็บป่วยของคนงานที่มาพบแพทย์เป็นระยะเวลา 1 ปี เปรียบเทียบผลการตรวจดังกล่าวระหว่างคนงานในกลุ่มที่ต้องทำงานสัมผัสสาร (คนงานฝ่ายบดสี ผสมสี บรรจุสี ฝ่ายเทคนิค ควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวัตถุดิบ) กับกลุ่มที่ทำงานอื่น (คนงานฝ่ายบริหาร ธุรการ บัญชี การตลาด) ผลการศึกษาพบว่า โรงงาน ก ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการจัดระเบียบภายในเป็นอย่างดี (n=192) มีคนงานเพียงร้อยละ 3.1 ที่ตรวจพบโทลูอีนในเลือดและพบในระดับต่ำกว่า 0.68 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรทั้งหมดเป็นคนงานในกลุ่มสัมผัสสาร โรงงาน ข เป็นโรงงานที่ขาดการจัดระเบียบภายในโรงงาน (n=218) มีคนงานที่ตรวจพบโทลูอีนในเลือดในระดับต่ำกว่า 0.68 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ร้อยละ 39.0 (85 คน) ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสัมผัสสาร (79 คน) และคนงานอีกร้อยละ 11.6 มีระดับโทลูอีนในเลือดระหว่าง 0.68-4.16 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยทั้งหมดเป็นคนงานในกลุ่มสัมผัสสาร ผลการวัดระดับกรดฮิพพิวริค ซึ่งเป็นเมตะบอไลท์ของโทลูอีนในปัสสาวะ พบว่า คนงานโรงงาน ก ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของกรดฮิพพิวริค ในปัสสาวะไม่แตกต่างกัน ส่วนโรงงาน ข คนงานกลุ่มสัมผัสมีค่าเฉลี่ยของกรดฮิพพิวริคในปัสสาวะสูงกว่ากลุ่มที่ทำงานอื่น (0.48+-0.35 และ 0.26+-0.28 กรัมต่อกรัมครีเอตินีนตามลำดับ, p<0.001) และค่าเฉลี่ยของกรดฮิพพิวริค ในปัสสาวะของคนงาน โรงงาน ข สูงกว่าโรงงาน ก (0.42+-0.35 และ 0.21+-0.15 กรัมต่อกรัมครีเอตินีน ตามลำดับ, p<0.001) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโทลูอีนในเลือดกับกรดฮิพพิวริคในปัสสาวะ พบว่า ระดับกรดฮิพพิวริคในปัสสาวะไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับโทลูอีนในเลือด (r=0.53) ผลการตรวจเลือดทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิก ไม่พบความผิดปกติ ซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานที่ต้องสัมผัสโทลูอีน ผลการเก็บข้อมูล ความเจ็บป่วยเป็นเวลา 1 ปี พบว่าคนงานกลุ่มสัมผัสมีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนังมากกว่ากลุ่มที่ทำงานอื่น และโรคที่คนงานเจ็บป่วยบ่อยที่สุดคือ โรคระบบทางเดินหายใจ
Other Abstract: This research aimed to study the prevalence of toluene exposure among workers in two paint factories, with different environmental work place. The studies included blood toluene determination by head-space gas chromatography, urinary hippuric acid determination by colorimetry and effects of toluene on health impact. This health impact included hematological tests (hemoglobin, white blood cell count), liver function tests (total bilirubin, alkaline phosphatase, transaminase, transferase), kidney function tests (urea nitrogen, creatinine) and 1-year follow up for subjective signs and symptoms. The results were compared between exposed group (production unit workers: dispersion, color mixing, canning, technique, quality control and raw material) and non-exposed group (office unit workers:-administration, general affairs, accounting and marketing). The results showed that 3.1% of workers in Factory A which had better environmental work place (n=192) had detectable blood toluene at the concentration less than 0.68 microgram per milliliter, all of them were the exposed group. 39.0% (85 persons) of Factory B workers had detectable blood toluene at the concentration less than 0.68 microgram per milliliter, most of them were the exposed grou (79 persons). 11.6% of Factory B workers had blood toluene concentration at 0.68-4.16 microgram per milliliter, all of them were the exposed group. The determination of hippuric acid, metabolite of toluene in urine, showed that there was no statistical significant difference in the mean of urinary hippuric acid between two groups of Factory A workers. For Factory B, urinary hippuric acid mean of exposed group was higher than mean of non-exposed group (0.48+-0.35 ad 0.26+-0.28 gram per gram creatinine respectively, p<0.001). The urinary hippuric acid mean of Factory B workers was higher than Factory A (0.42+-0.35 and 0.21+-0.15 gram per gram creatinine respectively, p<0.001). There were no correlation between blood toluene and urinary hippuric acid concentration (r=0.53) The studiesin hematology and blood clinical chemistry showed that there were no abnormalities that correlated with toluene exposure. 1-year followup for subjective signs and symptoms showed that the exposed group had dermatological diseases more than non-exposed group. The major symptom among the workers was respiratory tract infections diseases.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1561
Type: Technical Report
Appears in Collections:Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilai.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.