Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15622
Title: ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการเดินออกกำลังกายต่ออาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
Other Titles: The effect of educative-supportive nursing program combined with walking exercise on insomnia in breast cancer patients receiving chemotherapy
Authors: กษมภัฏ พันพิลึก
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: เต้านม -- มะเร็ง
การนอนไม่หลับ
การออกกำลังกาย
การพยาบาล
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการเดินออกกำลังกายต่ออาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดที่เข้ารับการรักษาในหน่วยเคมีบำบัด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตรัง จำนวน 45 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มละ 15 คน ทั้ง 3 กลุ่ม ได้รับการจับคู่ ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง อายุ ชนิดยาเคมีบำบัด ระดับอาการนอนไม่หลับ โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับเคมีบำบัดร่วมกับการปฏิบัติตนเมื่อมีอาการนอนไม่หลับ) ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับเคมีบำบัด)ร่วมกับการเดิน ออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลโรคมะเร็งเต้านมและการรักษา แบบประเมินการนอนไม่หลับ แบบบันทึกการเดินออกกำลังกาย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาคของแบบประเมินอาการนอนไม่หลับเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับเคมีบำบัดร่วมกับการปฏิบัติตนเมื่อมีปัญหาการนอนหลับ) ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าคะแนนเฉลี่ยการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับเคมีบำบัด) ร่วมกับการเดินออกกำลังกายต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าคะแนนเฉลี่ยการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับเคมีบำบัด) ร่วมกับการเดินออกกำลังกายต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับเคมีบำบัดร่วมกับการปฏิบัติตนเมื่อมีปัญหาการนอนหลับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to compare the effect of educative-supportive nursing program combined with walking exercise on insomnia in breast cancer patients. The subjects were 45 patients at oncology clinic at Trang Hospital, and were selected by a purposive sampling. The subjects were arranged into a control group, and two experimental groups. The groups were matched in terms of age, type of chemotherapy and insomnia level. The control group received conventional nursing care. The first experimental group received information "educative-supportive nursing program on insomnia" The second experimental group received information "educative-supportive nursing program combined with walking exercise on insomnia" The instrument was a set of questionnaires including a demographic data form, stage of disease, type of chemotherapy, insomnis laveal test. Walking exercise record was tested for the content validity by a panel of experts. Cronbach's alpha coefficient of the unpleasant symptoms questionnaire was .95 Data were analyzed by descriptive statistics, one way analysis of variance (ANOVA), and pairwise comparison. Results were as follows : 1.Mean scores of insomnia level in the first experimental group received information "educative-supportive nursing program on insomnia" lower than the control group received conventional nursing care were statistical at the level of .05 2. Mean scores of insomnia level in the second experimental group received information “educative-supportive nursing program combined with walking exercise on insomnia" lower than the control group received conventional nursing care were statistical at the level of .05 3. Mean scores of insomnia level in the second experimental group received information "educative-supportive nursing program combined with walking exercise on insomnia" lower than breast cancer patients had the first experimental group received information "educative-supportive nursing program on insomnia" lower than the control group received conventional nursing care were statistical at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15622
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.740
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.740
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasamaphat.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.