Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1563
Title: การใช้ Immune markers ในการเฝ้าระวังโรคเอดส์
Other Titles: Immune markers in AIDS surveillance
Authors: ชนิดา พลานุเวช
ศศิธร แจ่มถาวร
วิไล ชินเวชกิจวานิชย์
วิภา ด่านธำรงกูล
ปิยะพร ทาคำถา
ประสิทธิ์ อินต๊ะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
โรงพยาบาลสันป่าตอง เชียงใหม่
โรงพยาบาลสันป่าตอง เชียงใหม่
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
โรคเอดส์--ผู้ป่วย
การเฝ้าระวังโรค
ภูมิคุ้มกัน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ติดตามระดับดัชนีบ่งชี้ภูมิคุ้มกันในผู้ติดเชื้อโรคเอดส์เปรียบเทียบกับผู้ไม่ติดเชื้อ กลุ่มศึกษา คือ ผู้มาขอรับการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ ที่ฝ่ายงานกามโรคและโรคเอดส์ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 121 คน (ชาย 61 คน หญิง 60 คน) ในจำนวนนี้ พบว่าเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ 25 คน ไม่ติดเชื้อ 96 คน การศึกษาประกอบด้วยการสัมภาษณ์ข้อมูลทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรม และตรวจสารต่าง ๆ ในเลือดทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่การตรวจวัดัชนีบ่งชี้ภาวะภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้น (เบตา-2-ไมโครกลูบิน นีออพเทอริน อิมมูโนโกลบูลินรวมชนิดจี ชนิดเอ และชนิดเอ็ม) การตรวจทางโลหิตวิทยา และการตรวจวัดปริมาณซีดี 4 ในบางราย ดำเนินการศึกษาแบบติดตามรวม 3 ครั้ง คือครั้งแรกที่เข้าโครงการฯ และหลังจากทราบผลการติดเชื้อ 3 เดือน และ 6 เดือน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ติดเชื้อมาขอตรวจหาการติดเชื้อเนื่องจากมีอาการป่วยหรือคู่มีอาการป่วย หรือคู่ติดเชื้อ ซึ่งในจำนวนนี้เสียชีวิตระหว่างดำเนินโครงการ 8 ราย ระดับเมตา-2-ไมโครโกลบูลิน นีออพเทอริน อิมมูโนโกลบูลินรวมชนิดจีและชนิดเอ ในกลุ่มที่เสียชีวิต สูงกว่ากลุ่มติดเชื้อที่เหลือ และสูงกว่ากลุ่มไม่ติดเชื้อตามลำดับ กลุ่มติดเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา ในระยะ 6 เดือนที่ตติดตามผล มากกว่ากลุ่มไม่ติดเชื้อ โดยระดับสารต่าง ๆมีแนวโน้มลดลง การติดตามการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถใช้เป็นดัชนีประเมินความรุนแรงของอาการป่วยได้เช่นกัน โรงพยาบาลชุมชนสามารถเลือกใช้ดัชนีชี้วัดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความพร้อมของดรงพยาบาล ในการติดตามเพื่อเฝ้าระวังโรคเอดส์ในชุมชนของตนได้
Other Abstract: The research determined immune markers levels between HIV-infected and non-infected persons. The subjects were 121 clients for HIV testing at STD and AIDS unit, Sunpatong Hospital, ChaingMai province. There were 61 men and 60 women. The testing resulted 25 positive and 96 negative clients. The study included interview for demographic and behavioral information; blood tests for immune activation markers (beta-2-microglobulin, neopterin, total immunoglobulin G, total immunoglobulin A and total immunoglobulin M); routing hematological tests; and also CD4 T-lymphocyte counts, in some cases. The data was collected three times, at recruitment time, 3 months and 6 months follow-up. The clients, whose HIV testing were positive, gave reasons for testing that because of their illness, their spouses' illness or their spouses' infection. Among these, 8 were later severe sick and died. Serum concentration of beta-2-microglobulin, neopterin, total immunoglobulin G and total immunoglobulin A at recruitment in severe caseswere higher than alive HIV-positive and HIV-negatives respectively. The complete blood counts of HIV-positive clients during 6 months follow up showed decreasing trend. The CBC changes could also be used as prognostic marjers in HIV-infected persons. It is possible that the hospitals could develop appropriate immune markers for surveillance HIV/ADIS disease in their communities.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1563
Type: Technical Report
Appears in Collections:Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanida(Immune).pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.