Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15726
Title: | ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต : การวิเคราะห์อภิมาน |
Other Titles: | The effectiveness of nursing interventions on heath outcomes in family members of critically ill patients : a meta-analysis |
Authors: | ธนวรรณ ปั้นตะกั่ว |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th |
Subjects: | การพยาบาล การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต การดูแลขั้นวิกฤต การวิเคราะห์อภิมาน |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต 2) เปรียบเทียบผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อ ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต และ 3) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อ ความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาล ต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2552 จำนวน 15 เรื่อง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 38 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยทั้งหมดเป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (100%) เป็นงานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มากที่สุดอย่างละเท่าๆ กัน (33.3%) จากสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์มากที่สุด (86.7%) คุณภาพงานวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (73.3%) การปฏิบัติการพยาบาล ด้านการรู้คิดถูกนำมาศึกษามากที่สุด (60%) และด้านสังคมถูกนำมาศึกษาน้อยที่สุด (6.7%) ส่วนผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านจิตใจถูกนำมาศึกษามากที่สุด (59.26%) ในขณะที่ด้านพฤติกรรมถูกนำมาศึกษาน้อยที่สุด (18.5%) 2. ผลการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยพบว่า ผลลัพธ์ทางสุขภาพโดยรวมมีค่าขนาด อิทธิพลเฉลี่ยขนาดปานกลาง (d-bar = 1.31) โดยผลลัพธ์ด้านจิตใจมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด (d-bar = 1.49) และผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยต่ำที่สุด (d-bar = 0.77) ส่วนการปฏิบัติการพยาบาลด้านการ รู้คิด มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด (d-bar = 1.50) และการปฏิบัติการพยาบาลด้านสังคมให้ค่าขนาดอิทธิพล เฉลี่ยขนาดต่ำที่สุด (d-bar = 0.52) 3. แหล่งที่มาของเครื่องมือวิจัยและการสนับสนุนความต้องการของครอบครัวมีผลต่อค่าขนาด อิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาล โดยสามารถพยากรณ์ค่าขนาดอิทธิพลได้ 72.30%. |
Other Abstract: | The purposes of this meta analysis were to study: 1)the methodological and substantive characteristics of nursing interventions affecting on health outcomes in family members of critically ill patients; 2) to compare the effectiveness of nursing interventions on health outcomes in family members of critically ill patients; and 3) to study the influences of methodological and substantive characteristics on the effect sizes. Total of 15 true and quasi-experimental studies in Thailand during 1987-2009 were included. Studies were analyzed by using Glass, McGaw, & Smith (1981)’s analysis. This meta-analysis yielded 38 effect sizes. Results were as follows: 1. The majority of the studies were master’s thesis (100%); from Chulalongkorn University and Changmai University equally (33.33%); mostly from the faculty of nursing (86.67%). Most of instruments were tested for both reliability and validity (66.67%); decided in very good quality (73.33%). Most of nursing interventions tested was cognitive intervention (60%) while nursing interventions least tested was social intervention (6.67%). Most of health outcomes focused were psychological health outcomes (59.26%) whereas health behavior health outcomes were rarely tested (18.52%). 2. Overall, nursing interventions had the medium effect-sizes on health outcomes (d-bar = 1.31), especially on psychological health outcomes (d-bar = 1.49), but the effect-sizes of behavior health outcomes were lowest (d-bar = 0.77). Cognitive interventions had the largest effect-size on health outcomes (d-bar = 1.55). Social interventions had the lowest effect-size on health outcomes (d-bar = 0.52). 3. Source of instruments and family needs supporting were the variables that significantly predicted the effect-sizes at the level of .05. The predictive power was 72.30% of the variance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15726 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1022 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1022 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanawan_Pu.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.