Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15736
Title: | การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของบางใหญ่ช่วงปี พ.ศ. 2495 ถึงปัจจุบัน |
Other Titles: | Landscape changes in Bang Yai from 1949 A.D. to present |
Authors: | ภาณุ เอี่ยมต่อม |
Advisors: | ดนัย ทายตะคุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Danai.Th@Chula.ac.th |
Subjects: | การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ นิเวศวิทยาเมือง นิเวศภูมิทัศน์ บางใหญ่ (นนทบุรี) |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พื้นที่บริเวณบางใหญ่และคลองอ้อมนนท์เป็นพื้นที่ที่เป็นที่รู้จักและมีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต ในฐานะของการมีภูมิทัศน์แบบสวนผลไม้อันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารให้แก่เมือง อันเนื่องจากความเหมาะสมหลายด้าน ทั้งศักยภาพในการเพาะปลูกของดินตะกอน และโครงข่ายน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงในพื้นที่ แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณขอบ หรือชานเมืองของเมืองใหญ่ จึงได้รับผลกระทบจากการพัฒนา และการขยายตัวของเมือง ผลของปัจจัยหลายด้านของการขยายตัวของเมืองเข้ามาในพื้นที่นี้เอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพต่างๆ ของภูมิทัศน์ของพื้นที่ไปจากเดิม รูปแบบของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นและบ่งบอกได้ ในการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่-เวลา โดยมีกรอบด้านนิเวศวิทยาเป็นหลัก ซึ่งจะใช้การทำแผนที่เชิงประวัติศาสตร์ร่วมกับการใช้แผนภูมิเส้นแนวเวลา การศึกษานี้จะเน้นที่การบ่งชี้ หรือจำแนกลักษณะทางกายภาพของสภาพแวดล้อม ทั้งที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้เห็นถึงปรากฏการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงความสัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ความเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนั้น จากการศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของพื้นที่ศึกษานั้นสามารถสังเกต และบ่งชี้ได้จากตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง ซึ่งมีความพ้องของปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ (1) การปรับปรุงการคมนาคมขนส่งทางถนน ระหว่างศูนย์กลางเมืองและชานเมือง (2) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในพื้นที่ศึกษาโดยเฉพาะที่เกิดจากการโยกย้ายจากภายนอกพื้นที่ ตามการปรับปรุงการคมนาคมขนส่งดังกล่าว (3) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมพื้นดินที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนที่พักอาศัย และการลงทุนในธุรกิจบ้านจัดสรรจำนวนมาก และ (4) ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะมีส่วนในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ในพื้นที่ศึกษา เช่น กฎหมาย นโยบายรัฐ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังพบว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นยังส่งผลต่อการสูญเสียการบริการเชิงนิเวศของพื้นที่ด้วย |
Other Abstract: | The study area, Bang Yai, historically, have been significant agricultural and food production area because of its’ fertile soil and vast traditional irrigation structure. In recent years, urbanization along the edge of Bangkok metropolitan area has expanded into this fertile landscape. This urban-rural fringe landscape has been under the pressure of rapid growth of land development that causes rapid change of the agricultural landscape. This study observed and identified change patterns both spatial and temporal of the agricultural landscape of Bang Yai through the methods of historical mapping and timeline analysis. Using landscape ecological framework, this study focused on characterization of the environment of built-up areas and agricultural areas, related events phenomena. This study also intended to visualize and analyze all events, phenomena in relation to changes in landscape. This study indicate concurring among government policies, legislation, population changes, infrastructure (transportation) construction, land developments, reduction of agricultural land and increasing of built up areas. This study also identified the effects of agricultural land conversion as a result of urbanization in terms of changing in ecological service of the areas. The result of this study described the patterns of agricultural land conversion due to urbanization of the urban-rural fringe area and indicated the effects of changes that caused declining of the quality of the environment especially the ecosystem service of the agricultural landscape. This understanding of phenomena of changes lays the ground work for landscape and urban planning in regard to the conversion of agricultural landscape and the effect on the quality of the environment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภูมิสถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15736 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.858 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.858 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phanu_Ai.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.