Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15760
Title: | การศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุในสถานบริบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other Titles: | A study of older people's needs in private nursing home, Bangkok Metropolis and vinicities |
Authors: | พันธ์ทิพย์ วรวาท |
Advisors: | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | s_sasat@hotmail.com |
Subjects: | ผู้สูงอายุ สถานพยาบาล การพยาบาลผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุในสถานบริบาลเอกชน และเปรียบเทียบความต้องการของผู้สูงอายุในสถานบริบาลเอกชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลในด้าน เพศ อายุ สถานภาพสมรส สภาพความเป็นอยู่ ภาวะความเจ็บป่วย ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการรับรู้ด้านเชาวน์ปัญญา เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานบริบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน จำนวน 140 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินระดับเชาวน์ปัญญา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินความต้องการของผู้สูงอายุในสถานบริบาล สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ การทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานบริบาลเอกชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงหม้าย มีอายุระหว่าง 60-74 ปี เดิมอาศัยอยู่กับผู้ดูแลที่เป็นบุตร หลาน และญาติ ร้อยละ 41.4 มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 54.3 ระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด ร้อยละ 46.4 มีภาวะซึมเศร้าปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 4.3 มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 2.1 2. ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานบริบาลเอกชนมีความต้องการโดยรวมในระดับมาก (Xbar = 91.57, SD = 17.65) สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ การดูแลเรื่องยาที่รับประทาน การดูแลความปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน การดูแลทางการแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ การฟื้นฟูสภาพและความช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 3. ระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างกัน มีระดับความต้องการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน เพศ กลุ่มอายุ สถานภาพสมรส สภาพความเป็นอยู่ ภาวะความเจ็บป่วย ระดับเชาวน์ปัญญา และระดับภาวะซึมเศร้าที่แตกต่างกันมีระดับความต้องการที่ไม่แตกต่างกัน 4. ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความต้องการที่พบนอกเหนือไปจากข้อมูลเชิงปริมาณคือ ความต้องการได้รับการอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การมีที่พักที่เป็นสัดส่วน มีเจ้าหน้าที่พาไปตรวจตามนัด เป็นต้น |
Other Abstract: | The purposes of this descriptive research were to study demographic data, depression, cognitive status, activity daily living, and needs of older people who residence in private nursing home and comparison needs with sex, age, marital status, living arrangement, physical profile, cognitive status, depression, and activity daily living. Quantitative and qualitative data collection were carried out. The sample included older people who residence in nursing home in Bangkok Metropolis and Vinicities more than 3 months. Simple random sampling was used and total number of 140 older peoples were included in this study. The research instruments for quantitative data collection were demographic questionnaires, ADL Assessment, MMSE-T, TGDS, and Needs questionnaires. Qualitative data were collected using semi-structured interview were used to collect the data. Quantitative data were analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA at level of .05 and content analysis method was applied for qualitative data analysis. Major findings were as follow: 1. The majority of residents were females widowed aged ranging from 60-74 years old and co-residence with adult children/grandchild prior moved to institution. Fifty-four percents had been diagnosed with hypertension, forty–six percents had very severely disabled and totally dependent, four percents had depression, and two percents had cognitive impairment. 2. The residents had high level of needs (Xbar = 91.57, SD = 17.65), ranging from high to low need levels were: managing medication, safety and complication prevention, medical / nursing care, rehabilitation, and needs for ADL assistance. 3. The level of activities of daily living and level of needs were found significantly difference at level of .05, but sex, age group, marital status, living arrangement, physical profile, cognitive status, depression and level of need were found no significantly differences. 4. Qualitative data were found that the needs were extended to the facilities assistant, for example, private area, laundry service, and assistant for medical follow-up from care staffs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลผู้สูงอายุ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15760 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1424 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1424 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pantip_wa.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.