Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15864
Title: การวิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนามาตรวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: A factor analysis and development of a self-directed learning characteristics scale for sixth grade students
Authors: นงลักษณ์ กำจัดภัย
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
ระบบการเรียนการสอน
นักเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างมาตรวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดในด้านความเที่ยงและความตรง 3) เพื่อคำนวณหาปกติวิสัยของมาตรวัด โดยศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากการสนทนากลุ่ม ครูและนักเรียนที่ได้รับรางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ระดับประเทศ ครูจำนวน 8 คน และนักเรียน 22 คน แล้วศึกษาเชิงปริมาณด้วยการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนประถมศึกษาจำนวน 417 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในตามสูตรการหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค วิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน 1260 คน โดยใช้โปรแกรมลิสเรล แล้วคำนวณหาปกติวิสัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 2) มีใจเปิดกว้างต่อการเรียนและมีความสามารถด้านการคิด 3) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและมองโลกเชิงบวก 4) การมีทักษะพื้นฐานในการเรียน 5) การอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2. มาตรวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นมาตรแบบลิเคร์ตที่มีการตอบ 5 ช่วง จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.970 โมเดลการวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (chi-square = 344.84, df=348, P=0.54) มีค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI ) มีค่าเท่ากับ 0.97 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.025 แสดงว่ามีความกลมกลืนระหว่างข้อมูลเชิงประจักษ์กับโมเดลการวัด 3. เกณฑ์ปกติของมาตรวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นเกณฑ์ปกติเปอร์เซ็นต์ไทล์
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to analyze components of self-directed learning characteristics 2) to develop self-directed learning characteristics scale for the sixth grade students and examine validity and reliability of the scale. 3) to indicate test norms. The study was carried out with a focus group discussions of 8 teachers and 22 students who were awarded from the national science projects and a survey of 417 students. Data were analyzed by performing Exploratory Factor Analysis with varimax rotation method. The research instruments were self-directed learning characteristics scale for the sixth grade students. Cronbach’s alpha internal consistency was estimated for the reliability of the scale and Confirmatory factor analysis were performed to determine the construct validity through LISREL from 1260 students and indicate test norms. Research findings: 1. Self-directed learning characteristics composed of 5 factors: 1) Self-directed learning procedure, 2) Open to learning Opportunities and thinking ability, 3) Self-responsibility and positive thinking, 4) learning skills, and 5) learning environment. 2. The self-directed learning characteristics scale for the sixth grade students was Likert – type scale contained 43 items. The internal consistency reliability of self-directed learning characteristics scale for the sixth grade students was 0.970. The model of The self-directed learning characteristics scale for the sixth grade students was fitted with empirical data. The results of the model validation indicated the chi-square goodness of fit test was 344.84, df = 348, P = 0.54 ,GFI = 0.99, AGFI= 0.97 and RMR = 0.025 3. Norms of the self-directed learning characteristics scale for the sixth grade students was percentile norms.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15864
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.584
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.584
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongluck_ka.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.