Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15890
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวัฒน์ บรมานันท์-
dc.contributor.authorแสงระวี สวัสดิบุตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-09-20T03:55:26Z-
dc.date.available2011-09-20T03:55:26Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15890-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงการกำหนดขอบเขตของอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งตราขึ้นเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หมวด 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการแบ่งแยกอำนาจและหน้าที่ ในการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง ประกอบกับกฎหมายฉบับนี้มิได้มีสถานะเป็นกฎหมายพิเศษ ทำให้ไม่สามารถยกเลิกบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่ขัดหรือแย้งกันได้ อีกทั้งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายเพื่อถ่ายโอนภารกิจให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางในการแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการกำหนดหลักการทั่วไปเกี่ยวกับประเภทของบริการสาธารณะและขอบเขตของอำนาจและหน้าที่ของรัฐและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อการถ่ายโอนภารกิจ และควรมีการปรับปรุงโครงสร้างของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้คำสั่งและมติของคณะกรรมการมีสภาพบังคับต่อส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกคณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาและข้อพิพาทเกี่ยวกับขอบเขตของอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนมีการนำคดีฟ้องสู่ศาลปกครองen
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed to study on how to separate public service functions and authorities between state and local government organizations in accordance with the “Determining Plans And Process Of Decentralization Act, B.E. 2542, which is amended by the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2540; Chapter 9 Local Government. For ten years of law enforcement, the substance of law has been remaining defective to categorize public service providing authority between state and local government organizations. Firstly, it lacks of principle on how to separate functions and authorities between central, regional and local government in providing public service. Secondly, this law is not a special law, so it can not over rule another against law which duplicate in functions and authorities. Besides, the Decentralization Committee has inadequate power to enforce law and drive Decentralization Plan fluently and successfully. The recommendations of the thesis are as followings; (1) To define the scope of functions and authorities by clarifying type and level of each public service in handling of state and local government organizations including linkage between them (2) To restructure for authority of the Decentralization Committee in order to enforce law efficiently (3) To appoint a Separation of Functions and Authorities in Providing Public Service Tribunal, upon the Decentralization Committee’s recommendation, in order to consider problems and controversies on separation of functions and authorities in providing public service before administrative court procedure.en
dc.format.extent1867489 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.426-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการปกครองท้องถิ่นen
dc.subjectการกระจายอำนาจปกครอง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542en
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.titleปัญหาที่เกิดจากการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen
dc.title.alternativeProblems arising from the seperation of functions and authorities in providing public service between state and local government organizations in accordance with the law on the determination of plan and process of decentralizationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.426-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saengrawee_sa.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.