Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15912
Title: | ผลของความเข้มข้นของสารละลายกรดกำมะถันและอัตราส่วนของน้ำมันถั่วเหลืองต่อสารละลายกรดกำมะถัน ในปฏิกิริยาซัลเฟชั่นของกลีเซอไรด์ที่ไม่อิ่มตัว |
Other Titles: | Effects of sulfuric acid concentration and sulfuric acid to soybean oil ratio on sulfation of unsaturated glycerides |
Authors: | บุญรัตน์ ปี่บัว |
Advisors: | เดชา ฉัตรศิริเวช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | deacha.c@chula.ac.th |
Subjects: | น้ำมันและไขมัน ถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง สารลดแรงตึงผิว กรดกำมะถัน |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปฏิกิริยาระหว่างกลีเซอไรด์ที่ไม่อิ่มตัวในน้ำมันถั่วเหลืองกับสารละลายกรดกำมะถันได้ทดลองแบบกะ ณ อุณหภูมิห้อง โดยศึกษาผลของเวลาในการกวน ความเร็วรอบในการกวน ความเข้มข้นของสารละลายกรดกำมะถัน และอัตราส่วนของน้ำมันถั่วเหลืองต่อสารละลายกรดกำมะถัน ที่มีต่อร้อยละของกรดกำมะถันที่ใช้ในปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันถั่วเหลือง กับสารละลายกรดกำมะถัน ปฏิกิริยาของสารละลายกรดกำมะถันเข้มข้น 30% โดยน้ำหนักกับน้ำมันถั่วเหลืองด้วยอัตราส่วนผสม 0.2 ความเร็วรอบในการกวน 500 รอบต่อนาที ร้อยละของกรดกำมะถันที่ใช้ในปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันถั่วเหลืองกับสารละลายกรดกำมะถันที่สภาวะสมดุลมีค่าเท่ากับ 0.49 ร้อยละของกรดกำมะถันที่ใช้ในปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันถั่วเหลืองกับสารละลายกรดกำมะถันที่เวลาในการกวนสาร 30 นาที เพิ่มจาก 0.4 เป็น 1.4 เมื่ออัตราส่วนของสารละลายกรดกำมะถันต่อน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มจาก 0.2 เป็น 1.8 และนอกจากนี้ร้อยละของกรดกำมะถันที่ใช้ในปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันถั่วเหลืองกับสารละลายกรดกำมะถันสามารถเพิ่มได้ถึง 2.8 เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายกรดกำมะถันไปถึง 70% โดยน้ำหนัก แต่น้ำมันที่ได้จะมีสีเข้มขึ้น |
Other Abstract: | Reaction of soybean oil unsaturated glycerides with sulfuric acid was carried out batchwisely at room temperature. Effects of reacting period, agitation speed, sulfuric acid concentrations and sulfuric acid to soybean oil ratio on conversion of sulfuric acid were investigated. For 30% sulfuric acid concentration, acid solution to oil ratio of 0.2, and agitation speed of 500 rpm, the equilibrium conversion of sulfuric acid was approximately 0.49%. The conversion of sulfuric acid for 30 min reaction period was improved from 0.4% to 1.4% by increasing the acid solution to oil ratio from 0.2 to 1.8. In addition, much more improvement of conversion was obtained by increase in the acid concentration to 70% but the oil product become dark. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15912 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1014 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1014 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonrut_Pe.pdf | 940.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.