Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15923
Title: การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารทางอากาศระหว่างประเทศของประเทศไทย
Other Titles: A forecast of international air passengers from/to Thailand
Authors: อัญมณี ทะเสนฮด
Advisors: มาโนช โลหเตปานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Manoj.L@Chula.ac.th
Subjects: ผู้โดยสารเครื่องบิน
การวิเคราะห์อนุกรมเวลา
อุตสาหกรรมการบิน -- ไทย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการคาดการณ์แนวโน้มปริมาณผู้โดยสารระหว่างประเทศในอนาคต แยกตามภูมิภาคโดยท่าอากาศยานหลักหรือท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ ครอบคลุม 8 ภูมิภาคและท่าอากาศยานภูมิภาคที่มีการบริการเที่ยวบินระหว่างอย่างต่อเนื่องยาวนาน คือ ท่าอากาศยานภูเก็ตและท่าอากาศยานเชียงใหม่ เทคนิคในการพยากรณ์คือ เทคนิคอนุกรมเวลาและเทคนิค Causal method โดยเทคนิคอนุกรมเวลาใช้ตรวจจับแบบแผนการเคลื่อนไหวข้อมูลในระดับรวม พบว่าข้อมูลปีล่าสุดมีผลต่อค่าพยากรณ์สูงมาก นอกจากนี้รูปแบบแนวโน้มผู้โดยสารมีลักษณะเชิงเส้นและเชิงเส้นโค้ง และเทคนิค Causal method ใช้ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการพยากรณ์โดยใช้เทคนิคการถดถอยในการวิเคราะห์ข้อมูลประเภท Panel ซึ่งเป็นการตรวจสอบลักษณะเฉพาะของประเทศในภูมิภาคพบว่า แบบจำลอง Fixed-effect มีความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบจำลอง Random-effect สำหรับขนาดพารามิเตอร์ของตัวแปร real GDP per capita มีค่าสูงกว่าตัวแปรจำนวนประชากร ในการคัดเลือกแบบจำลองการพยากรณ์ซึ่งพิจารณาจากผลการทดสอบหลังการพยากรณ์ และการเปรียบเทียบค่าวัดความถูกต้องพบว่า แบบจำลอง Least square dummy variable (LSDV) มีความเหมาะสมมากกว่าเทคนิคอนุกรมเวลา และผลการทดสอบส่วนใหญ่พบว่า ตลาดในเอเชียให้ค่าพยากรณ์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ไม่แปรผันตามเวลา ขณะที่ทวีปออสเตรเลียและทวีปยุโรปให้ค่าพยากรณ์ที่ดีมากกว่าภูมิภาคอื่น การตรวจสอบผลลัพธ์การพยากรณ์จากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพบว่า ควรมีการปรับอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง จะส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางของผู้โดยสารค่อนข้างมาก แม้ว่าจะเป็นระยะสั้นก็ตาม นอกจากนี้การทำการบินระหว่างประเทศแบบประจำยังพบว่าท่าอากาศยานหลักครองสัดส่วนผู้โดยสารที่สูงมาก แนวโน้มการเติบโตมีความมั่นคงสูงและแปรปรวนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับท่าอากาศยานภูมิภาค
Other Abstract: To forecast international air passengers by region. The focused airports for this study are Suvarnabhumi International Airport, which covers 8 regions, and 2 regional airports--Phuket and Chiang Mai-both of which continuously service international traffic. The forecasting techniques employed are time-series analysis and causal methods. Time-series analysis captures the pattern of change and causal method captures the factors affecting the number of passengers. From the results of time-series method, this study found that recent values have significant effects over the forecasted number of passengers. There are 2 patterns of passenger growth: linear and non-linear trends. The results from the causal method, which incorporated panel data, show that the fixed-effect model is better than the random-effect model and that the impact of real GDP per capita was higher than that of population. The results indicate that the least square dummy variable (LSDV) is a better model than the time series model excluding Europe and 2 regional airports. The test model results found that almost all regions indicates under-estimation but time-invariant and more accuracy in AUS and EU region. The evaluation of experts found that the baseline growth rate should be higher especially in Southeast Asia region. Comparing the growth rate of passenger between the major airport and regional airports this study found that the traffic of major airports are more stable than the regional airports.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15923
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.94
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.94
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unyamanee_Ta.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.