Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15961
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราโมทย์ โศจิศุภร-
dc.contributor.authorนิคม อ่อนสี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-09-24T15:21:11Z-
dc.date.available2011-09-24T15:21:11Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15961-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพทางสมุทรศาสตร์ฟิสิกส์บริเวณหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ โดยการสำรวจภาคสนาม และประยุกต์ใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขเพื่ออธิบายลักษณะการไหลของกระแสน้ำในพื้นที่ศึกษาและเพื่อประเมินความคงอยู่ของแนวปะการังในบริเวณหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ระยะเวลาที่ใช้ในศึกษาตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2551 จนถึง ธันวาคม พ.ศ.2551 ระยะเวลาศึกษา 1 ปี การไหลเวียนของกระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงรอบเกาะต่างๆทางตอนใต้ของเกาะสมุยมีความเร็วค่อนข้างอ่อนไม่เกิน 0.4 เมตรต่อวินาที และความเร็วของกระแสน้ำแรงบริเวณร่องน้ำไม่เกิน 0.8 เมตรต่อวินาที กระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงมีการไหลวนรอบเกาะในช่วงน้ำขึ้นกระแสน้ำไหลเลียบเกาะขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในช่วงน้ำลงกระแสน้ำมีการไหลเลียบเกาะลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจลม และคลื่นในแนวปะการัง ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พบว่าลมพัดอยู่ระหว่างทิศ 190-260 องศา ความเร็วลมเฉลี่ยในรอบวัน 3.5 เมตรต่อวินาที ความสูงคลื่นไม่เกิน 0.5 เมตร เคลื่อนมาจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยอิทธิพลของคลื่นส่งผลกระทบต่อบริเวณน้ำตื้นทางฝั่งตะวันตกของเกาะวังใน วังนอก และเกาะราบ คลื่นปะทะกับแนวโขดหินบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น ทำให้ตะกอนฟุ้งกระจายในแนวปะการังน้ำตื้น ส่งผลให้น้ำขุ่นพอสมควร พลังงานจากคลื่นและกระแสน้ำทำให้ปะการังบริเวณน้ำตื้นเกิดความเสียหายในระดับหนึ่ง ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าลมพัดอยู่ระหว่างทิศ 65-177 องศา ความเร็วลมเฉลี่ยในรอบวัน 3.0 เมตรต่อวินาที ชายฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยบริเวณหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้มีคลื่นลมสงบเนื่องจากเป็นกลุ่มเกาะที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะสมุย จึงได้รับอิทธิพลจากคลื่น และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือลดน้อยลงไปมาก ปริมาณตะกอนแขวนลอยที่จุดสำรวจบริเวณหน้าแนวปะการังทั้งในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าต่ำระหว่าง 1-6 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าตะกอนแขวนลอยเฉลี่ยในแต่ละสถานีเพียง 3-4 มิลลิกรัมต่อลิตรเท่านั้น และค่าไม่เปลี่ยนแปลงตลอดคอลัมน์น้ำเนื่องจากไม่ได้รับตะกอนจากน้ำท่าอีกทั้งคลื่นและกระแสน้ำไม่รุนแรงพอที่จะทำให้ตะกอนท้องน้ำฟุ้งกระจายขึ้นมา ค่าตะกอนแขวนลอยต่ำจึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศแนวปะการัง การอนุมานการเคลื่อนที่ของไข่และตัวอ่อนปะการังโดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขของการไหลเวียนของน้ำบริเวณพื้นที่ศึกษาพบว่าหากปะการังปล่อยไข่และมีการแพร่กระจายของตัวอ่อนในมวลน้ำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ขณะน้ำเกิด(ขึ้น 15 ค่ำ) และปล่อยไข่ในช่วงน้ำขึ้น ไข่และตัวอ่อนจะถูกกระแสน้ำพัดพาไปมาในบริเวณหมู่เกาะของพื้นที่ศึกษา และตัวอ่อนปะการังมีโอกาสลงเกาะในพื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใกล้เคียง จะทำให้สามารถพบแนวปะการังรุ่นใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษาen
dc.description.abstractalternativeThis research project studies Physical Oceanography at Had Khanom- Mu ko thale tai, Changwat Surat Thani through the use of field sampling data and the application of numerical model. The project duration is 1 yr starting from January 2008 to December 2008. The water circulation in the area was caused by tidal current. The maximum current in the deeper channel was about 0.8 m/s while that near the coast was about 0.4 m/s. Islands in the study area aligned with the tidal current direction (flood:northwestward, ebb:southeastward). Analysis of the field sampling data revealed that the physical oceanographic data did not significantly change with the monsoon season. The SW monsoon season, wind blew from 190°-260° with the average speed of 3.5 m/s. Wave height from sight estimation was about 0.3 m and was moving from SW direction. Wave condition on the western side of Ko Wang Nai and Ko Rab was able to stir up the bottom sediment in the shallow part and could do some damage to the coral reef community in the shallow area. The NE monsoon season, the wind blew from 65°-177° with the average wind speed of 3 m/s. The study area experienced calm sea because it was sheltered from NE wind and wave by the presence of Ko Samui. The water was clear with the suspended sediment (SS) concentration of only 1-6 mg/l. The low SS concentration was due to little river runoff and less bottom sediment re-suspension. Low SS concentration was good for the coral community. The SS concentration did not vary with monsoon season or depth. Estimation of the dispersion of coral egg and planula larvae from the numerical circulation model revealed that if the egg were released during the spring tide in February to April, the egg would be carried away by the current and dispersed around the islands in the study. And there was a good chance that the planula larvae could be carried back and could settle down in the spawning area.en
dc.format.extent2571614 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.207-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระแสน้ำ -- อ่าวไทยen
dc.subjectสมุทรศาสตร์en
dc.subjectอ่าวไทยen
dc.titleสมุทรศาสตร์ฟิสิกส์บริเวณหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้en
dc.title.alternativePhysical oceanography around Had Khanom-Mu Ko Thale Taien
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPramot.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.207-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nikom_on.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.