Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15978
Title: การจำแนกและบ่งชี้คุณลักษณะภูมิทัศน์ พื้นที่เกษตรกรรมเมือง : กรณีศึกษา สวนผักอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร และสวนผลไม้ บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Landscape characterization of urban farm land : case study On-Nuch vegetable farm, Bangkok and Bang Yai orchard, Nonthaburi
Authors: สืบสิริ ศรีธัญรัตน์
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Danai.Th@Chula.ac.th
Subjects: นิเวศภูมิทัศน์
สวนผัก -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สวนผลไม้ -- ไทย -- นนทบุรี
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ทำการศึกษาเรื่องคุณลักษณะเชิงนิเวศของภูมิทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบริการเชิงนิเวศของภูมิทัศน์ เพื่อให้ได้กระบวนการในการบ่งชี้ จำแนก และ เปรียบเทียบคุณค่าเชิงนิเวศของภูมิทัศน์ ในเชิงคุณภาพ และเสนอแนะแนวทางการศึกษาต่อยอดด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้กรอบทางทฤษฎีของนิเวศภูมิทัศน์เป็นแนวทางในการศึกษา โดยเลือก สวนผักอ่อนนุชกรุงเทพมหานคร และสวนผลไม้บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นที่ศึกษา ขั้นตอนกระบวนการศึกษาวิจัยใช้การศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ.2545 ประกอบกับการสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ เพื่อนำมาสร้างแผนที่โครงสร้างเชิงนิเวศของพื้นที่ เพื่อเป็นการบ่งชี้และจำแนก เปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างเชิงนิเวศ ในฐานะโครงสร้างภูมิทัศน์ของพื้นที่ และตารางการบริการเชิงนิเวศของภูมิทัศน์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์คุณค่าเชิงนิเวศของพื้นที่ จากการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล เสนอว่าบริการเชิงนิเวศสามารถบ่งชี้และจำแนกจากสิ่งปกคลุมพื้นดินซึ่งเป็นองค์ประกอบทางกายภาพของภูมิทัศน์ การสร้างแผนที่สิ่งปกคลุมพื้นดินทำให้สามารถจำแนกภูมิทัศน์และกระบวนการทางนิเวศของภูมิทัศน์ได้ และทำการระบุบริการเชิงนิเวศแต่ละประเภทซ้อนทับลงไปบนพื้นที่ที่ทำการจำแนกไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมิณคุณค่าของบริการเชิงนิเวศของพื้นที่การวิจัยนี้ไม่ได้นำไปสู่การเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา แต่เป็นการเสนอ แนะแนวทางในการวิเคราะห์ภูมิทัศน์ ที่มีความครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้ได้รายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์รวมทั้งการประเมิณภูมิทัศน์เบื้องต้น ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการวางแผนภูมิทัศน์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการเป็นเมือง หรือ ควบคุมให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทิศทางที่เหมาะสม
Other Abstract: Emphasizing landscape ecological services this study analyzed landscape ecological structures and functions including landscape ecological attribute in order to identify, characterize and compare ecological value of landscapes in qualitative term. Also, this study suggests further study by proposing quantitative analysis using landscape ecological theory as a research framework. On-Nuch vegetable farm, Bangkok and Bang Yai orchard, Nonthaburi were selected as a research sites. This study used aerial photographs of 2002 combining with field surveys and interviews to build landscape ecological structure map (land cover map) to identify, characterize and compare patterns of landscape spatial structure as a landscape ecological structure of the areas. An ecological services matrix was built in order to identify and rate the value of landscape ecological services of the area. This study suggested that landscape ecological processes and ecological services can be identified and characterized from land cover map. Also landscape ecological services can be delineated. Overlaying landscape ecological services maps over land cover maps can be used to generate landscape ecological services evaluation maps. This study proposed a landscape ecological analysis which can play a critical role in landscape planning process under the pressure of landscape changes and urbanization in order to direct appropriate changes in landscapes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15978
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1422
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1422
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suebsiri_sr.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.