Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15985
Title: การพัฒนาเครื่องมือประเมินเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development of evaluation tools for teachers' achievement goals in schools under the Department of Education, Bangkok Metropolis
Authors: ฉัตรลดา พุทธรักษา
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Subjects: ครู -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาตนเอง
ครู -- การประเมิน
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเครื่องมือประเมินเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ของครู (2) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้น (3) เพื่อแปลเครื่องมือวัดเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ของครูฉบับภาษาต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการเปรียบเทียบหาความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับเครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้น (4) สร้างเกณฑ์ปกติวิสัยสำหรับใช้กับเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น (5) สำรวจเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ของครูในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และ (6) เปรียบเทียบเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ของครูที่มีภูมิหลังต่างกัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครในปีการศึกษา 2551 จำนวน 768 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ได้เครื่องมือประเมินเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ของครู ประกอบด้วย 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 มีจำนวน 12 ข้อ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้ตอบแบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 เป็นข้อคำถามที่สร้างจากทฤษฎีเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ 2. คุณภาพของเครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้น ในด้านความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าข้อคำถามแต่ละข้อมีค่า IOC ระหว่าง 0.60 – 1.00 ในด้านความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่าเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ทั้งสามด้าน มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.87-0.94 ในด้านความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือประเมินเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กับแบบประเมินเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ฉบับแปลจากภาษาต่างประเทศ พบว่า ในด้านเป้าหมายมุ่งความรอบรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เท่ากับ .49 ในด้านเป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถสู่ความสำเร็จมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เท่ากับ .66 และในส่วนของด้านเป้าหมายมุ่งหลีกเลี่ยงการแสดงความสามารถมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เท่ากับ .75 ในด้านความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราห์องค์ประกอบาเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า X² = 671.47, df = 618, p = 0.07 3. ได้ปกติวิสัยและเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็นช่วงคะแนนเฉลี่ย 4. ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยของเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ในด้านเป้าหมายมุ่งความรอบรู้ เท่ากับ 62.15 จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน ด้านเป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถสู่ความสำเร็จมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 33.15 จากคะแนนเต็ม 70 คะแนน และด้านเป้าหมายมุ่งหลีกเลี่ยงการแสดงความสามารถมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.81 จากคะแนนเต็ม 65 คะแนน 5. การเปรียบเทียบเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ระหว่างครูที่มีภูมิหลังต่างกัน พบว่า ในด้านเป้าหมายมุ่งความรอบรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน ครูที่มีรายได้เสริมกับครูที่ไม่มีรายได้เสริม และครูที่มีฐานะต่างกัน ในด้านเป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถสู่ความสำเร็จมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่าง เพศชายและเพศหญิง และครูที่เคยทำวิจัยในชั้นเรียนกับครูที่ไม่เคยทำ ส่วนในด้านเป้าหมายมุ่งหลีกเลี่ยงการแสดงความสามารถมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างครูในแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ครูที่มีตำแหน่งวิทยฐานะต่างกัน และครูที่เคยทำวิจัยในชั้นเรียนกับครูที่ไม่เคยทำ
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to develop evaluation tools for teachers' achievement goals in schools under the Department of Education, Bangkok metropolis (2) to check the qualities of evaluation tools in terms of validity and reliability (3) to translate the measure of teachers' achievement goals from English version into Thai version for use in the criterion related with the evaluation tools developed by the researcher (4) to construct norm and criterion for score interpretation (5) to survey basic education teachers' achievement goals and (6) to test the differences of teachers' achievement goals among teachers of different backgrounds. The sample consists of 768 teachers in schools under the Department of Education, Bangkok metropolis who taught in the 2008 academic year. The major findings were as follows: 1. The developed evaluation tools for teachers’ achievement goals consisted 2 parts measuring. The checklist part consisting of 11 items was construct to measure the background of teachers and the rating scale part consisting of 42 items was constructed to measure the teachers' achievement goals. 2. The content validity was checked by IOC of each item ranged from 0.60-1.00. The reliability was estimated ranged from 0.87-0.94. The criterion related validities, the correlate between the score of the measure for teachers’ achievement goals (English version) and the evaluation tools for teachers' achievement goals (Thai version) in factor mastery goals were positive correlate and significant at .05 level (.49) in factor performance approach goals were positive correlate and significant at .05 level (.66) in factor performance avoidance goals were positive correlate and significant at .05 level (.39). The construct validity was confirmed by using the first order confirmatory factor analysis through LISREL founded X² = 671.47, df = 618, p = 0.07 3. Norm and criterion were constructed by rank of mean for clusters 4. An average score of each achievement goals in factor mastery goals founded 62.15 from full score at 75, in factor performance approach goals founded 33.15 from full score at 70, and factor performance avoidance goals founded 24.81 from full score at 65. 5. There were significantly differences of teachers' achievement goals for between teacher of each background founded that in factor mastery goals founded significantly differences between teachers of each group subject, difference graduation, difference special income, and difference financial budget. In factor performance approach goals founded significantly differences between teachers of difference sex, and difference classroom action research experience. And In factor performance avoidance goals founded significantly differences between teachers of each group subject, difference academic standing, difference journey to school, and difference classroom action research experience.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15985
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.899
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.899
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatlada_pu.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.