Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15992
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์-
dc.contributor.advisorสุพิตร สมาหิโต-
dc.contributor.authorชิตินทรีย์ บุญมา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-09-25T14:09:41Z-
dc.date.available2011-09-25T14:09:41Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15992-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาโดยใช้หลักการเรียนรู้ของสมองเป็นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จำนวน 70 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากรจำนวน 84 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน โดยวิธีจัดเข้ากลุ่ม (Randomly Assignment) เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้ผลจากการทดสอบการพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ จากนั้นดำเนินการวิจัยโดยกลุ่มควบคุม ใช้รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาแบบปกติ และกลุ่มใช้รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาโดยใช้หลักการเรียนรู้ของสมองเป็นฐาน เป็นเวลา 14 สัปดาห์ ๆละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ก่อนและหลังการทดลอง 14 สัปดาห์ ทำการทดสอบการพัฒนาการเรียนรู้และสรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้การทดสอบ ค่าที (Independent t - test) เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยพบว่า กลุ่มทดลอง มีการพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะดีกว่ากลุ่มควบคุม ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลภายในกลุ่มทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยทางพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะภายหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง จากการผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อสรุปว่ารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาโดยใช้หลักการเรียนรู้ของสมองเป็นฐานที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นนั้นจะเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปใช้เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 มีพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะได้อย่างแท้จริงen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to determine the effect of a physical education instructional model based on brain based-learning approach to enhance learning development and skill- related physical fitness of first grade students. Seventy in eighty – four of first grade students in the Demonstration School of Rajabhat Chiang Mai University were randomly assigned to two different programs: The normal physical education instructional was performed as a control group and the physical education instructional model based on brain-based learning was performed as an experimental group. They performed once a week for 60 minutes and for 14 weeks. The development of learning and skill related physical fitness were measured for 14 weeks. The statistical significance was established at .05 level The result were found that: After experiment for 14 weeks , the control group and the experimental group both had enhance learning development and skill related physical fitness significantly difference at. 05 level. But in experimental group was significantly greater than control group. Meanwhile, the result in experimental group, there was significantly enhance learning development and skill related physical fitness after experiment was better than before experiment. In conclusions, the physical education instructional model based on brain-based learning approach of first grade students can be used for enhances learning development and skill related physical fitness truly.en
dc.format.extent8023367 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.547-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.subjectการเรียนรู้en
dc.subjectสมองen
dc.subjectสมรรถภาพทางกายen
dc.titleรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาโดยใช้หลักการเรียนรู้ของสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1en
dc.title.alternativeA physical education instructional model based on brain-based learning approach to enhance learning development and skill-related physical fitness of first grade studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChaninchai.I@Chula.ac.th-
dc.email.advisorusst@ku.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.547-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chitinthree_bo.pdf7.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.