Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1599
Title: การพัฒนาสารเคลือบผิวประเภทพอลิเอสเทอร์จากน้ำมันชนิดต่าง ๆ
Other Titles: Development of polyester coating materials from various oils
Authors: วิกสิต อธิมุตติกุล, 2523-
Advisors: ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: siriporn.d@chula.ac.th
Subjects: สารเคลือบผิว
โพลิเอสเตอร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์สารเคลือบผิวพอลิเอสเทอร์ชนิดอัลคิดเรซิน 2 ประเภท คือ Short oil alkyd และ Medium oil alkyd ด้วยกระบวนการแอลกอฮอไลซิส โดยใช้น้ำมันชนิดต่างๆ ที่หาได้ภายในประเทศ 5 ชนิด คือ น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันละหุ่งที่ขจัดน้ำออก เพื่อศึกษาผลกระทบของชนิดและปริมาณน้ำมัน รวมถึงอุณหภูมิการเกิดปฏิกิริยาในการผลิตวัสดุเคลือบผิวพอลิเอสเทอร์ ที่มีต่ออัตราการแห้งตัว ความหนืด และความเป็นกรดของเรซิน และสมบัติของสารเคลือบผิวที่ได้ เช่น ความมันเงา ความสามารถในการติดแน่น ความแข็ง และความสามารถในการทนน้ำ กรด และด่าง จากผลการทดลองพบว่าการใช้น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกทานตะวันจะให้เรซินสีอ่อน น้ำมันรำข้าวและน้ำมันถั่วเหลืองให้เรซินสีเหลืองเข้ม โดยน้ำมันรำข้าวจะให้ฟิล์มที่มีการแห้งตัวช้าที่สุด สมบัติโดยรวมของเรซินและฟิล์มจะใกล้เคียงกัน ยกเว้นน้ำมันละหุ่งที่ขจัดน้ำออกจะให้เรซินที่มีความหนืดสูง ฟิล์มแห้งตัวเร็วและมีความแข็งมากกว่าการใช้น้ำมันชนิดอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของน้ำมันละหุ่งที่ขจัดน้ำออกมีพันธะคู่สลับเดี่ยวซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันได้ง่าย และยังมีหมู่ไฮดรอกซีจากกรดไขมันริซิโนลีอิกที่เป็นองค์ประกอบในน้ำมัน เรซินที่สังเคราะห์ได้มีความเป็นกรดสูงกว่าการใช้น้ำมันชนิดอื่นๆ ทำให้มีความสามารถในการทนด่างน้อยกว่าการใช้น้ำมันชนิดอื่นๆ ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ Short oil alkyd คือ 210 เซลเซียส-230 องศาเซลเซียส เวลา 4-5 ชั่วโมง และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ Medium oil alkyd คือ 190 องศาเซลเซียส-210 องศาเซลเซียส เวลา 5-6 ชั่วโมง โดยใช้อุณหภูมิในช่วงการเกิดมอนอกลีเซอไรด์ที่ 230 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าสีเหลืองเข้มของอัลคิดเรซินมีสาเหตุหลักจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในระหว่างการสังเคราะห์ ซึ่งสามารถแก้ไขให้อัลคิดเรซินมีสีจางลงได้ด้วยการจุ่มท่อแก๊สไนโตรเจนลงในสารละลายและทำการสังเคราะห์ และพบว่าอัลคิดเรซินทั้ง 2 ประเภทที่สังเคราะห์ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.618)
Other Abstract: This work aims to study the synthesis of polyester coating materials from two types of alkyd resins; short oil alkyd and medium oil alkyd. Alkyd resins were produced by alcoholysis process using five various local oils; corn oil, rice oil, sunflower oil, soya bean oil and dehydrated castor oil (DCO). The effects of oil types and oil contents as well as synthesis temperatures on the drying rate, viscosity, acid value and coating film properties such as gloss, adhesion, hardness and water, acid or alkali resistance were investigated. The results showed that alkyd resins synthesized from corn oil and sunflower oil were light yellow while the color of alkyd resins from rice oil and soya bean oil was dark yellow. Coating film from rice oil alkyd resin had longest drying time. Overall properties of resins and coating films were similar except those synthesized from DCO, i.e. DCO-based resin was more viscous and the coating film had shortest drying time, comparing to coating film made from other oils. Moreover, film from DCO was hardest but showed the poorest alkali resistance due to conjugated diene and hydroxy groups of ricinoleic acid in DCO structure. This resulted in the highest acid value in the resin. Suitable conditions for short oil alkyd and medium oil alkyd synthesis were 210 degree celsius-230 degree celsius-5 hr and 190 degree celsius-210 degree celsius for 5-6 hr, respectively. In addition, the temperature of monoglyceride step for medium oil alkyd synthesis was 230 degree celsius. Moreover, it was found that the darkness of alkyd resin was caused by the oxidation reaction occurred in the process. The dark color of resin can be fade by purging nitrogen into the solution during the synthesis reaction. Both types of alkyd resins synthesized were approved by Thai industrial standard (มอก.618).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1599
ISBN: 9741765452
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vikkasit.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.