Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16001
Title: | การศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง |
Other Titles: | A study factors supporting to sustainable management in cultural tourism under The King's sufficiency economy philosophy |
Authors: | ศุภกร ประทุมถิ่น |
Advisors: | สมบัติ กาญจนกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Sombat.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียง การท่องเที่ยว -- การจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเอื้อต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้ยั่งยืนตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อเป็นแนวทางต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในเชิงนโยบาย ต่อองค์กรการท่องเที่ยว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) รวมทั้งสิ้นจำนวน 3 รอบ ซึ่งในรอบที่ 1 โดยวิธีการสัมภาษณ์ และแบบสอบถามในรอบที่ 2 และ 3 ประกอบด้วยข้อความที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ 93 ข้อความ โดยได้จากการเสนอของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 ท่าน การวิเคราะห์ผลข้อคำตอบจากแบบสอบถามรอบที่ 3 โดยพิจารณาจากค่า มัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 และความแตกต่างระหว่างฐานนิยมและค่าฐานนิยมไม่เกิน 1.00 ในแต่ละข้อความ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 15 ท่านมีความเห็นสอดคล้องกันในระดับมากในข้อความที่ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมีความสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด ด้วยค่ามัธยฐาน = 4.25 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ = 0.88 และค่าความแตกต่างระหว่างมัธยฐานและค่าฐานนิยม = -0.25 ซึ่งปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญ แบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หรือตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ต้องมีความเข้าใจในสถานภาพ ความสามารถ ด้านต่างๆของตนเอง ทั้งด้านงบประมาณ สภาพแวดล้อม รวมถึงความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวและความพร้อมที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมีการวางแผนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามขีดความสามารถของตนเอง นำวัฒนธรรมของตนเองมานำเสนออย่างถูกต้องไม่เกินจริงตามวาระโอกาสที่เหมาะสม และมีจิตสำนึกรักวัฒนธรรมของตนสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชนเพื่อป้องกันวัฒนธรรมที่จะกระทบต่อวัฒนธรรมของตนเอง คุณธรรมถือเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชน ด้านที่ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งนี้รวมถึงภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เข้าใจในด้านความพร้อมและความต้องการของชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งช่วยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวตามระดับความสามารถและความยินยอมของท้องถิ่น ส่งเสริมด้านความรู้โดยจัดการอบรม แนะนำการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยไม่เข้าไปแทรกแซงและไม่มองการท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจจนเกินไป เปิดโอกาส ส่งเสริมด้านอาชีพกับคนในชุมชนเป็นอันดับแรก ด้านที่ 3 นักท่องเที่ยว และผู้มาเยือน ตระนักถึงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวที่ไปเยือนโดยปฏิบัติตามข้อตกลงของแหล่งท่องเที่ยว เคารพต่อชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง โดยไม่ดูหมิ่นหรือมองวัฒนธรรมที่ต่างจากตนเองเป็นเรื่องตลก |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study factors supporting to sustainable management in cultural tourism under the king’s sufficiency economy philosophy in policies to tourism organizations, communities and official departments who are involved in cultural tourism which this research used Delphi technique which produced 93 items from opinion of 15 experts were pooled together using. The result of this research showed that sufficiency economy philosophy was in the line with cultural tourism at high level which the factors supporting to sustainable management in cultural tourism under the king’s sufficiency economy philosophy. It could be divided into 3 sectors ; The first sector, cultural communities or located in cultural tourism side, they had to understand their status, abilities of themselves. Include budget, environment and the carrying capacities and the readiness to become cultural tourism attraction which were planned respectively by the abilities of themselves, show their cultures in the appropriate way at the right occasions, realize and love their cultures. Morals are important to cultural tourism management of communities. The second sector, involved department who were government or non-government, that develop and support cultural tourism management. However, this include the business partners who involved, understand in readiness and the community’s needs to become the cultural tourism attraction, also support and promote tourism attractions according to the abilities and acceptance levels of the communities, support acknowledgement by training, advise cultural tourism management with not interface and not take much business advantages, open opportunities, priorities supporting people of community’s job. The third sector, tourist and visitors realize the valuable of tourism attractions by following the agreement of tourism attractions, respect the cultural differences of communities and never insult in the cultural differences. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16001 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.711 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.711 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suphakon_pr.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.