Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16014
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เจริญ นิติธรรมยง | - |
dc.contributor.advisor | จินตนา นักระนาด | - |
dc.contributor.author | รุ่งทิวา ตะติชรา | - |
dc.contributor.illustrator | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-09-26T08:19:59Z | - |
dc.date.available | 2011-09-26T08:19:59Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16014 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | ทำการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงความเค็มโดยฉับพลันในหอยลายแต่ละระยะของพัฒนาการ ตั้งแต่ระยะ trochophore จนถึงหอยลายโตเต็มวัย ในแต่ละระยะทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด โดยใช้ตัวอ่อนหอยลายระยะ trochophore ที่ความหนาแน่น 0.487 ตัว/มล., ระยะ D-shape ที่ความหนาแน่น 0.834 ตัว/มล., ระยะ pediveliger ที่ความหนาแน่น 1.020 ตัว/มล., ระยะ seed ที่ความหนาแน่น 13.255 ตัว/ตร.ซม., หอยลายวัยรุ่นที่อายุ 120 วัน ที่ความหนาแน่น 1.300 ตัว/ตร.ซม. และหอยลายโตเต็มวัยที่ความหนาแน่น 0.042 ตัว/ตร.ซม. ทุกการทดลองเลี้ยงหอยลายในถังขนาด 20 ลิตร และเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำโดยฉับพลันไปที่ 15 ppt, 20 ppt, 25 ppt, 30 ppt, 35 ppt และความเค็มน้ำทะเลธรรมชาติ (31-35 ppt) เพื่อติดตามพัฒนาการ การเติบโต และอัตรารอดของหอยลาย พบว่าหอยลายที่เลี้ยงทุกความเค็มในทุกชุดการทดลองมีอัตรารอดโดยรวมสูง (>90 %) ยกเว้นหอยลายในระยะ pediveliger จนถึงระยะ seed ที่เลี้ยงในความเค็มสูง (35 ppt และความเค็มน้ำทะเลธรรมชาติ (34 ppt)) และหอยลายระยะ seed จนถึงระยะหอยลายวัยรุ่น จนถึงโตเต็มวัย ที่เลี้ยงในความเค็มต่ำ (15 ppt) ที่มีอัตรารอดโดยรวมต่ำ ซึ่งการที่หอยลายเติบโตได้ดีและมีอัตรารอดสูง ขึ้นอยู่กับการจัดสรรพลังงาน ช่วงอายุ ขนาดลำตัว และความสามารถในการปรับสมดุลร่างกาย ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าความเค็มที่เหมาะสมในการเลี้ยงหอยลายในทุกระยะให้มีอัตรารอดและการเติบโตสูง ตลอดจนมีความสมบูรณ์และแข็งแรง คือ ความเค็ม 30 ppt โดยช่วงความเค็มที่เหมาะสมในการเลี้ยงหอยลายในระยะ trochophore จนถึงระยะ D-shape ให้มีอัตรารอดที่มีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์และการเติบโตสูงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) คือ 25-35 ppt ส่วนหอยลายในระยะอื่นๆ ที่สูงขึ้นไป มีช่วงความเค็มที่เหมาะสม คือ 20-35 ppt ยกเว้นในระยะ pediveliger จนถึงระยะ seed พบว่าหอยลายที่เลี้ยงในความเค็ม 35 ppt และน้ำทะเลธรรมชาติที่มีอัตรารอดที่มีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ต่ำที่สุดเช่นเดียวกับอัตรารอดโดยรวม ซึ่งหอยลายที่เลี้ยงในความเค็มที่ต่ำหรือสูงกว่าช่วงความเค็มที่เหมาะสม จะมีอัตราการเติบโตต่ำ มีพัฒนาการช้า พิการสูงหรือทำให้หอยลายตาย และส่งผลให้อัตรารอดต่ำ ซึ่งพบลักษณะดังกล่าวในหอยลายที่เปลี่ยนไปเลี้ยงในความเค็ม 15 ppt อย่างฉับพลันในทุกระยะของพัฒนาการ โดยมีปัจจัยที่เพิ่มความรุนแรงของความเค็ม คือ ความต้องการพลังงานที่สูงในหอยลายแต่ละระยะในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มขึ้นอย่างฉับพลัน | en |
dc.description.abstractalternative | Effects of abrupt salinity change on development and survival of baby short necked clam from trochophore stage to adult stage were studied. The design of the experiment was completely randomized design (CRD) where the treatments were abrupt changes from natural seawater to saline water at 15, 20, 25, 30, and 35 ppt. The density in each experimental unit (a 20-litre tank) during trochophore, D-shape, and pediviliger stage was 0.487, 0.834, and 1.020 baby clams/ml while the density during seed, 120-day juvenile, and adult was 13.255, 1.300, and 0.042 clams/cm[superscript 2], respectively. At all stages, clams in all studied salinity yielded high survival rate (> 90 %) except during pediveliger to seed stage when significantly lower survival was found at 35 ppt and natural seawater. Lower survival rate was also found during seed to juvenile and to adult when they were subjected to low salinity (15 ppt). High growth and survival rate of short necked clam depends upon energy allocation, age, size, and its ability to osmoregulate. In the current study the optimal salinity for rearing short necked clam at all stages was 30 ppt based on high growth and survival rates as well as normal development as criteria. The optimum salinity range for rearing the clam from trochophore to D-shape stage was 25-35 ppt as it yielded higher growth rate and higher normal development (p<0.05). The optimum salinity range for rearing baby short necked clam in all other stages was 20-35 ppt except from pediveliger to seed stage when lower survival and higher abnormal development were found when they were reared at 35 ppt and natural seawater. Baby clam raised outside the optimum salinity range had low growth rate, slow or halted development, high abnormality and consequently low survival rate which were found in baby short necked clam that was abruptly transferred to 15 ppt in any stages. A factor that synergizes the salinity effect is the high energy demand when baby clam was faced with large salinity difference. | en |
dc.format.extent | 2143610 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.712 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หอยลาย -- การเจริญเติบโต | en |
dc.subject | ความเค็ม | en |
dc.title | ผลของการเปลี่ยนแปลงความเค็มอย่างฉับพลันต่อการพัฒนาและการอยู่รอดของลูกหอยลาย Paphia undulata, Born, 1778 | en |
dc.title.alternative | Effects of abrupt salinity change on development and survival of baby short necked clam Paphia undulata, Born, 1778 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ncharoen@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.712 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungthiwa_Ta.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.