Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16112
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorนัฐิยา เพียรสูงเนิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร๋-
dc.date.accessioned2011-10-06T04:10:50Z-
dc.date.available2011-10-06T04:10:50Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16112-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการอภิมานงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลที่ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน 2) ศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลจากรายงานการวิจัยต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน 3) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อพฤติกรรมการสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2550 จำนวน 44 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 140 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (81.80%) ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (61.40%) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในระหว่างปี 2540-2544 (47.70%) เครื่องมือวัดตัวแปรของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง (84.50%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (54.50%) การปฏิบัติการพยาบาลที่นำมาศึกษามากที่สุดคือ ด้านผสมผสานมากกว่า 1 แบบ (56.80%) โดยส่วนใหญ่เน้นโปรแกรมสุขศึกษา ผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมสุขภาพที่นำมาศึกษามากที่สุดคือ ด้านการปฏิบัติ (41.40%) 2. ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์พฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ โดยพฤติกรรมสุขภาพด้านทัศนคติให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 2.57) พฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้และการปฏิบัติให้ค่าขนาดอิทธิพลใกล้เคียงกัน (d = 2.25 และ d = 2.27 ตามลำดับ) การปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสานมากกว่า 1 แบบ เรื่องการสอนอย่างมีแบบแผนและการเยี่ยมบ้าน ให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 18.05) และการปฏิบัติการพยาบาลด้านคิดรู้เรื่องการประยุกต์ใช้ The take PRIDE Program ให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d = -0.12) 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ค่าขนาดอิทธิพล อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การระบุกรอบแนวคิดในการวิจัยและขนาดกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 13.4 (R[superscript 2] = 0.134)en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this meta analysis were 1) to study methodological and substantive characteristics of nursing interventions on health behaviors in patient with diabetic mellitus 2) to compare the effect sizes of nursing interventions on health behaviors in patient with diabetic mellitus 3) influences of methodological and substantive characteristics on effect size . Forty-four quasi-experimental studies conducted in Thailand during 1987-2007 were recruited. Studies were analyzed for general, methodological, and substantive characteristics. Effect size for each study was calculated using method of Glass, McGaw & Smith (1981). This meta analysis yielded 140 effect sizes. Results were as followings: 1.The majority of these studies were Masterลs thesis (81.80%) in the field of Public health (61.40%). Almost half of the studies were published between 1997-2001 (47.70%). Most instruments used in the research studies were tested for both reliability and validity; more than half of them were good quality. Psychomotor domain was the most studied health behavior outcome. Almost fifty-seven percent of the nursing interventions were the combined intervention focus on health education program. 2.Nursing interventions had large effect size on health behaviors outcome. Health behaviors outcome had the largest effect size on affective domain (d = 2.57), and the lowest effect size was on cognitive domain (d = 2.25). Planned instruction and Home visit intervention of combined intervention revealed the highest effect size (d=18.05). Applied the take PRIDE Program intervention of cognitive domain revealed the lowest effect-size (d = -0.12). 3.Both sample sizes and the identified conceptual framework can explain 13.4 % of variance in effect sizes (R[superscript 2] = 0.134)en
dc.format.extent4084795 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.741-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วยen
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen
dc.titleประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน : การวิเคราะห์อภิมานen
dc.title.alternativeThe effectiveness of nursing interventions on health behaviors in diabetic patients : a meta-analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.741-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattiya.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.