Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ วิทยศักดิ์พันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2011-10-06T04:35:27Z-
dc.date.available2011-10-06T04:35:27Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16113-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการให้กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบของการก่อหนี้ขึ้น จากเดิมที่เป็นการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด (อัตราร้อยละสิบห้าต่อปี) กลายเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยแอบแฝงในธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยลักษณะของการกระทำความผิดนั้นจะมีความซับซ้อนมากขึ้นและสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมากจนจัดได้ว่าเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจประเภทหนึ่ง ในการนำพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 มาบังคับใช้เพื่อปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบนั้น พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 เป็นอย่างมาก กล่าวคือ ผู้ให้กู้ยืมเงินนอกระบบพยายามหาทางหลีกเลี่ยงกฎหมายด้วยการทำสัญญาประเภทอื่นที่มิใช่การกู้ยืมเงิน เพื่อมิให้อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 รวมถึงการเรียกดอกเบี้ยโดยอาศัยถ้อยคำอื่นแทน นอกจากนี้ในการบังคับใช้โทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 นั้น พบว่าไม่สามารถบังคับโทษให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการลงโทษทางอาญาเพื่อข่มขู่ (Deterrence) ให้เกิดความเกรงกลัวต่อโทษทางอาญาได้ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 กำหนดไว้เพียงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นอัตราโทษที่ต่ำมาก หากเทียบกับความเสียหายและผลกระทบของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบันที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้กู้แล้ว ยังสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจด้วยการก่อหนี้สูญขึ้นในระบบสถาบันการเงิน วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 และกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ให้ก้าวทันต่อรูปแบบของการกระทำความผิดในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงการนำมาตรการทางกฎหมายฉบับอื่นที่มีอยู่มาปรับใช้กับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบ ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบนั้นเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการลงโทษทางอาญาได้มากที่สุดen
dc.description.abstractalternativeIllegal lending or usury has been developed in terms of the obligation formation. Previously, an usurer took advantage of a borrower by charging an excessive interest rate. (The lawful interest rate in not over 15% per annum.) Even though the usury is an illegal operation, nowadays it can be performed like the parasite in the legitimate business. The illegal lending is more complicated, so it can bring about the severe effect to the economic system. Consequently, the usury can be classified as a kind of the economic crime. There are many problems and obstacles from applying the Prohibited Charge of Excessive Interest Rate Act Buddhist Era 2475 (the Usury Law) to subjugate such economic crime. However, the usurers try to avoid this law by entering into another type of contracts which cannot be enforced by the usury law. Moreover, the usurers try to seek advantage by using other words to get the excessive interest rate. Owing to the light penalty, the punishment under the usury law cannot achieve the deterrence objective. According to the penalty under the Prohibited Charge of Excessive Interest Rate Act Buddhist Era 2475, it specified only not more than one-year imprisonment, or one-thousand fines, or both. Such penalty is not commensurate with the severe impact to the economic system. No only does the illegal lending harm the individual, but it also damages the whole economic system. It can generate a large number of non-profit loans (NPL) to the financial institutions. As a result, this thesis aims to study the problems and obstacles from the application of the Prohibited Charge of Excessive Interest Rate Act Buddhist Era 2475 (the Usury Law) and other laws relating to the illegal lending. Besides, this study would like to bring about the amendment of the Usury Law so as to catch up with the change in this kind of economic crime as well as to cover the possible crime in the future. In addition, this thesis also studies about the application of other laws relating to the illegal lending so as to efficiently manage this kind of economic crime and to achieve the objective of punishment.en
dc.format.extent6140108 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1362-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเงินนอกระบบen
dc.subjectอาชญากรรมทางเศรษฐกิจen
dc.subjectการกู้ยืม -- ไทยen
dc.subjectสินเชื่อผู้บริโภคen
dc.subjectพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475en
dc.titleอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีหนี้นอกระบบของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475en
dc.title.alternativeEcomomic crime : a case study of illegal lending of non-bank financial institutions (NBFIs) under the Prohibited Charge of Excessive Interest Rate Act Buddhist era 2475en
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorvboonyobhas@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1362-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattawut_Wi.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.