Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16129
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปริชวัน จันทร์ศิริ-
dc.contributor.authorศิริสรา ลิปิพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-10-17T06:25:10Z-
dc.date.available2011-10-17T06:25:10Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16129-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภาวะพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปีและคุณลักษณะของผู้ดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในเขตภาคกลาง แบบการวิจัยเป็นลักษณะการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive study) โดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีทั้งหมด 175 คน เป็นผู้ชาย 109 คน และผู้หญิง 66คน และกลุ่มผู้ดูแลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน จำนวน 194 คน ทั้งหมดเป็นผู้หญิงจากสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในเขตภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้คือ 1.แบบสอบถามส่วนบุคคล เกี่ยวกับลักษณะประชากร 2. แบบสอบถาม General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ) 3. แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี ในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในเขตภาคกลาง มีพัฒนาการรวมปกติ ร้อยละ 57.1 หรือมีความชุกภาวะสงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 42.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 ได้แก่ การได้พบกับผู้ปกครองหรือครอบครัว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 ได้แก่ อายุ การได้รับกิจกรรมพิเศษจากสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน การเคลื่อนไหว อัตราส่วนของระยะที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ต่อระยะเวลามีชีวิต และอัตราส่วนอายุแรกเข้าสถานสงเคราะห์ต่ออายุปัจจุบัน และข้อมูลส่วนสูงเป็นเปอร์เซนต์ไทล์ตามกราฟการเจริญเติบโตของเด็กหญิง และผู้ดูแลเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนเป็นเพศหญิงทั้งหมด จำนวน 194 คน อายุเฉลี่ย 40.427 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 65.6 และมีสถานภาพสมรสแล้วร้อยละ 51 ผู้ดูแลส่วนใหญ่ร้อยละ 70.7 ไม่มีโรคประจำตัว ความชุกภาวะสุขภาพจิตผิดปกติของผู้ดูแล คิดเป็นร้อยละ 7.2 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของผู้ดูแลเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 ได้แก่ การมีประวัติโรคประจำตัว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของผู้ดูแลเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 ได้แก่ อายุen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to examine the prevalence of development delay in babies aged 0-5 years and the characteristics of care-givers and related factors at babies’ homes, affiliated with Ministry of Social Development and Human Security, in central region of Thailand. The research design was cross-sectional descriptive study. The sample was 298 babies and 194 care-givers that had stayed in the babies’ homes, affiliated with Ministry of Social Development and Human Security, in central region of Thailand. The instruments were general demographic data, General Health Questionnaire (Thai GHQ) and Child development screening. All data were analyzed by the SPSS program to determine percentage, mean, standard deviation, and Chi-square test were used to determine factors related to child development and caregivers’ general mental health. The major findings were as followed : Prevalence rate of developmental delay in children aged 0-5 years at the babies’ homes was 42.9 percent. The factors related to such delay with statistical significance at P<0.05 was experiencing parental visit. And statistical significance at P<0.01 were age, movement, the activity received at the babies’ homes, time stay to real age ratio, first-in to present age ratio and girls’ height-for-age. The care-givers at babies’ homes are all female, with the average age of 40.427 years old. 65.6 percent of them have completed secondary level studies, 51 percent are married, and 70.7 percent have no physical condition. The prevalence of general mental health problems was 7.2 percent. Factors related to general mental health problems of care-givers with statistical significance at P<0.05 was physical condition. And statistical significance at P<0.01 was age.en
dc.format.extent2643986 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.546-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถานสงเคราะห์เด็ก -- ไทย (ภาคกลาง)en
dc.subjectเด็ก -- การดูแลen
dc.subjectผู้ดูแลเด็กen
dc.titleพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง5ปีและคุณลักษณะของผู้ดูแลในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั้นคงของมนุษย์ในเขตภาคกลางen
dc.title.alternativeChild development in children aged 0-5 years and characteristics of care-givers at babies' home, affiliated with Ministry of Social Development and Human Security, in central region of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.546-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirisara_li.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.