Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16136
Title: | พัฒนาการของพหุหน้าที่ของคำว่า ซึ่ง ในภาษาไทย |
Other Titles: | The development of the multiple functions of /Sin/ in Thai |
Authors: | นัทธ์ชนัน เยาวพัฒน์ |
Advisors: | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Amara.Pr@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา ภาษาไทย -- ไวยากรณ์ ภาษาไทย -- บุรพบท ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์หน้าที่ทางไวยากรณ์และพัฒนาการทางด้านหน้าที่ของคำว่า ซึ่ง ในภาษาไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมุ่งวิเคราะห์คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำว่า ซึ่ง ในหน้าที่ต่างๆ โดยมีสมมติฐานว่า ความแตกต่างทางวากยสัมพันธ์ของ ซึ่ง ในหน้าที่ต่างๆ จำแนกโดยกลวิธีการสร้างอนุประโยคขยายนามและลำดับนามวลีที่ขยายด้วยอนุประโยค ส่วนความแตกต่างทางอรรถศาสตร์จำแนกโดยคุณสมบัติมีชีวิต/ไม่มีชีวิต คุณสมบัติชี้เฉพาะ/ไม่ชี้เฉพาะ และบทบาทของนามวลี ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างเอกสารประเภทร้อยแก้วที่มีใช้อยู่จริงใน 5 ช่วงสมัย ได้แก่ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยรัชกาลที่ 1-4 สมัยรัชกาลที่ 5-8 และสมัยรัชกาลที่ 9 ผลการวิจัยพบว่า ซึ่ง มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ 3 ระดับ คือ ระดับวากยสัมพันธ์ ระดับวัจนปฏิบัติศาสตร์ และระดับสัมพันธสาร โดย ซึ่ง ที่ทำหน้าที่ตัวบ่งชี้คุณานุประโยค เช่น นี่คือสิ่งซึ่งน่าจดจำ และตัวนำอนุประโยคเติมเต็ม เช่น ซึ่งทุกคนสามัคคีกันเป็นสิ่งที่ดี เป็นหน้าที่ในระดับวากยสัมพันธ์ ส่วน ซึ่ง ที่เป็นตัวบ่งชี้เรื่อง เช่น ซึ่งเรื่องนี้เขายังไม่ทราบ และ ซึ่ง ที่เป็นตัวบ่งชี้จุดสำคัญข้างท้าย เช่น อย่าละเลยซึ่งหน้าที่ เป็นหน้าที่ในระดับวัจนปฏิบัติศาสตร์ และ ซึ่ง ที่เป็นตัวบ่งชี้สัมพันธสาร เช่น เศรษฐกิจย่ำแย่ซึ่งคนต้องตกงานกันมาก เป็นหน้าที่ระดับสัมพันธสาร ผู้วิจัยพบว่าหน้าที่ที่เก่าแก่ที่สุดที่เริ่มปรากฏในสมัยสุโขทัยคือ หน้าที่ตัวบ่งชี้คุณานุประโยค ตัวบ่งชี้เรื่อง และตัวบ่งชี้จุดสำคัญข้างท้าย ส่วนหน้าที่ตัวนำอนุประโยคเติมเต็มเริ่มปรากฏในสมัยอยุธยา และหน้าที่ตัวบ่งชี้สัมพันธสารซึ่งเป็นหน้าที่ใหม่ เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 5-8 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่า หน้าที่ตัวนำอนุประโยคเติมเต็มเป็นหน้าที่เดียวที่ไม่ได้ปรากฏอย่างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 9 ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะถูกแทนที่ด้วยคำว่า ที่ จากการเปรียบเทียบความถี่ในการปรากฏตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า ซึ่ง ในหน้าที่ตัวบ่งชี้คุณานุประโยค และตัวบ่งชี้ สัมพันธสารปรากฏในความถี่ที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ ตัวบ่งชี้เรื่อง และตัวบ่งชี้จุดสำคัญข้างท้ายมีความถี่ลดลงเรื่อยๆ สำหรับ ซึ่ง ที่เป็นตัวนำอนุประโยคเติมเต็ม พบว่ามีความถี่ในการปรากฏต่ำมากในทุกสมัยที่ปรากฏ ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะถูกแทนที่ด้วยตัวบ่งชี้ ที่ ซึ่งเป็นตัวนำอนุประโยคเติมเต็มในภาษาไทยเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังพบว่า ซึ่ง ที่ทำหน้าที่ตัวบ่งชี้สัมพันธสารพัฒนามาจากตัวบ่งชี้เรื่อง ผลการวิเคราะห์วากยสัมพันธ์พบว่า ซึ่ง เป็นคำบุพบทและเป็นส่วนหลักในหน่วยสร้างไร้ศูนย์บุพบทวลี ผลการศึกษาแบบลักษณ์พบว่า คุณานุประโยค ซึ่ง เป็นชนิดที่นามวลีหลักปรากฏอยู่ภายนอกและเป็นชนิดที่ปรากฏหลังนามวลีหลัก อีกทั้งยังพบว่า คุณานุประโยค ซึ่ง สร้างด้วยกลวิธีช่องว่างหรือกลวิธีบุรุษสรรพนาม โดยตัวอ้างอิงร่วมอาจมีบทบาทประธาน กรรมตรง กรรมรอง การกอ้อม หรือการกเจ้าของ โดยตัวอ้างอิงร่วมบทบาทประธานมีความถี่ในการปรากฏมากที่สุด ผลการวิเคราะห์อรรถศาสตร์พบว่า คุณานุประโยค ซึ่ง ปรากฏกับนามวลีหลักที่มีคุณสมบัติไม่มีชีวิตและนามวลีหลักที่มีคุณสมบัติชี้เฉพาะ |
Other Abstract: | The objectives of the present study are to analyze grammatical functions of the word /sɨŋ/ in Thai and to study the development of the functions from Sukhothai Period up to present. This study also aims to analyze syntactic and semantic properties of /sɨŋ/ in each function. It is hypothesized that /sɨŋ/ in each function can be differentiated in terms of two syntactic properties; namely, noun modifying clause formation and Noun Phrase Accessibility Hierarchy, It is also hypothesized that /sɨŋ/ in each function can be differentiated in terms of two semantic properties of head noun phrases, that is, animacy and definiteness. The data used in this study was randomly taken from samples of prose writings in five periods; namely Sukhothai, Ayutthaya, King Rama I-IV, King Rama V-VIII, and King Rama IX periods. It is found that /sɨŋ/ has three levels of functions: syntactic, pragmatic, and discourse functions. Syntactically, /sɨŋ/ functions as a relativizer and a complementizer. Pragmatically, it functions as a topic marker and an end-focus marker. The only discourse function found is a discourse marker. Historically, it is found that the functions as a relativizer, a topic marker, and an end-focus marker are the oldest functions of /sɨŋ/ found in Sukhothai period. /sɨŋ/ as a complementizer first occurred in Ayutthaya period. The discourse marker was first found in King Rama V-VII period. All functions, except the complementizer, are continuously used until the present time. The absence of /sɨŋ/ as a complementizer in present day Thai may be due to the fact that the /thiîi/ complementizer has replaced /sɨŋ/ in this function. When comparing the frequency distribution of /sɨŋ/ in each function, it is found that /sɨŋ/ as a relativizer and /sɨŋ/ as a discourse marker increased over time through the periods under study. On the other hand, the frequencies of /sɨŋ/ as a topic marker and /sɨŋ/ as an end-focus marker continuously decreased. Concerning /sɨŋ/ as a complementizer, it is found that its frequency is very low in all periods of its occurrence. Regarding the development of the grammatical function of /sɨŋ/, it is found that /sɨŋ/ as a discourse marker is the development of a topic marker. Regarding the syntactic analysis, it is found that /sɨŋ/ is a preposition, an obligatory head of a prepositional phrase. Typologically, the head noun phrase of a relative clause marked by /sɨŋ/ appears outside the clause and precedes the clause. Moreover, a relative clause marked by /sɨŋ/ can be formed by gap strategy or personal pronoun strategy. Focusing on co-referents, it is revealed that a relative clause marked by /sɨŋ/ may contain a co-referent with one of these syntactic-semantic roles; subject, direct object, indirect object, oblique, and possessive. The frequency distribution reveals that a co-referent with subject role is preferred in the relative clause marked by /sɨŋ/. Semantically, the frequency shows that the head noun phrases of relative clauses marked by /sɨŋ/ are inanimate and definite. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16136 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1037 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1037 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natchanan_ya.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.