Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16178
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | รชยา บุญภิบาล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2011-10-23T12:15:16Z | - |
dc.date.available | 2011-10-23T12:15:16Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16178 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษา วาทกรรมชายรักชายในละครเวทีไทยร่วมสมัย ตั้งแต่ พ.ศ.2528 - พ.ศ. 2551 โดยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ละครกรณีศึกษา 4 เรื่อง ได้แก่ 1) ฉันผู้ชายนะยะ (พ.ศ.2528) 2) This is my life, I love you.(พ.ศ.2542), 3) แก่นเซี้ยวเปรี้ยวซ่า พวกเรากล้าหาญ(พ.ศ.2545) และ 4)ที่รักของกัน (พ.ศ.2551) ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมตัวละครชายรักชายในบทละครเวทีไทยร่วมสมัยที่คัดสรรมา ถูกสื่อสารผ่านองค์ประกอบทางการละคร 8 องค์ประกอบ คือ ประเภทและวิธีการนำเสนอของละคร, แก่นเรื่อง, โครงเรื่อง,ลักษณะของตัวละคร, ภาษาของตัวละคร, การแต่งกายของตัวละคร ฉากและพื้นที่ รวมทั้งเพลงและดนตรีประกอบ โดยวาทกรรมชายรักชายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางสังคมที่ละครถูกสร้างขึ้นมา และสามารถจำแนกประเด็นการวิเคราะห์เชื่อมโยงกับเพศสภาพ, เพศวิถี, พื้นที่ทางสังคม และแนวคิดความรักและการใช้ชีวิตคู่ของตัวละคร ละครเวทีชายรักชายยุค ปี พ.ศ. 2528 ตัวละครชายรักชายมีเพศสภาพเป็นผู้ชาย ที่มีเพศวิถีหลากหลายและเลื่อนไหลไปมา ตัวละครมักปกปิดอัตลักษณ์ของตน เนื่องจากถูกบีบคั้น กดดันจากสังคม และบุคคลในครอบครัว ด้านความรักและการใช้ชีวิตคู่ก็ต้องพบกับความผิดหวังและล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ หากละครยุคหลังตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมานั้น ตัวละครชายรักชายมีอัตลักษณ์ที่เปิดเผยชัดเจนและมีความหลากหลายทางเพศสภาพภายนอก ตัวละครมีพื้นที่ทางสังคมมากขึ้น โดยสามารถมีชีวิตครอบครัวและความรักที่ประสบความสำเร็จได้ วาทกรรมที่ละครทั้ง 4 เรื่อง พยายามสื่อสารคือ ตัวละครชายรักชายก็เปรียบเสมือนปุถุชนทั่วไป แต่ละคนก็เป็นปัจเจกบุคคลที่มีทางเลือกในการใช้ชีวิตเฉพาะของตน ซึ่งต่างก็ต้องการความรัก ความจริงใจ และความเข้าใจจากบุคคลรอบข้าง ทั้งที่เป็นคนในครอบครัว คนรัก กลุ่มเพื่อน และสังคมแวดล้อมไม่แตกต่างจากชายหญิงทั่วไป | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study gay discourses in Thai contemporary theatre from 1985 to 2008 by means of a textual analysis of four selected plays; Chan Phu Chai Na Ya (1985), This Is My Life, I Love You (1999), Kaen Siew Priew Sa Poek Rao Kla Han (2002) and Ti Rak Kong Gan (2008). The research found out that gay discourses in the selected play are communicated through eight theatrical elements i.e. genre and style of presentation, theme, plot, character, language, costume, space, and sound together with music. These discourses constantly changed in accordance with the social context where an individual play was produced,. They can be explained in terms of the characters’; gender, sexuality, social space, and attitude toward love and marriage. In the play written in1985, gay characters are strictly gay-male in terms of gender, but with diverse and changeable sexualities. Due to familial and social pressure, the characters usually hide their identity from the public and greate a private space where they can be themselves. Often, they have unsuccessful romantic relationships. Gay characters of the plays written from 2002 onward, however, are more diverse in gender and are more open about their identity. They have more space in the society, and it is also possible for them to have a successful relationship. A discourse that all the selected plays try to communicate is that gay men are human beings. Each person is an individual with specific preferences in life, who wants love, sincerity and understanding from their family, lover, friends and the society like other heterosexual beings. | en |
dc.format.extent | 2355712 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1326 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | รักร่วมเพศชาย | en |
dc.subject | อัตลักษณ์ | en |
dc.subject | ละครเวที -- ไทย | en |
dc.subject | วจนะวิเคราะห์ | en |
dc.title | การสื่อสารความหลากหลายทางเพศวิถี : วาทกรรมชายรักชายในละครเวทีไทยร่วมสมัย | en |
dc.title.alternative | Communicating sexualities : gay discourse in Thai contemporary theatre | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สื่อสารการแสดง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Jirayudh.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1326 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rachaya_bu.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.