Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16189
Title: ความชุกของการพร่องวิตามินดีในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Prevalence of hypovitaminosis D among heart failure patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ศิริพร อธิสกุล
Advisors: วศิน พุทธารี
สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wacin.B@Chula.ac.th
bsmonporn@gmail.com
Subjects: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
วิตามินดี
การขาดวิตามินดี
ภาวะพร่องวิตามิน
หัวใจวาย
หัวใจวาย -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา มีหลายการศึกษาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับวิตามินดีต่ำกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมักจะมีระดับวิตามินดีไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ได้สัมผัสแสงแดดเท่าที่ควร แต่ยังไม่มีการศึกษาหาความชุกของการพร่องวิตามินดีในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของการพร่องวิตามินดีในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวและหาความ สัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของการพร่องวิตามินดีกับภาวะหัวใจล้มเหลวระดับซีและดีวิธีการ รวบรวมผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระดับซีและดี จำนวน 80 ราย โดยใช้เกณฑ์ฟรามิงแฮมในการวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว ตรวจเลือดผู้ป่วยตอนเช้าเพื่อหาระดับวิตามินดี ( 25(OH)D ) และระดับพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน ( PTH ) ผลการศึกษา พบความชุกของการพร่องวิตามินดี ( 25(OH)D < 30 ng/ml ) เท่ากับ 82.4% (66 ราย) โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับวิตามินดีเท่ากับ 22.50 ± 8.20 ng/ml ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่าค่าปกติและเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดี พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีระดับวิตามินดีต่ำกว่าผู้ที่มีสุขภาพดีอย่างมีนัยสำคัญ ( 22.50 ± 8.20 vs. 27.04 ± 6.28; p < 0.0001 ) การศึกษานี้มีเพียง 1 ราย (1.2%) ที่มีระดับขาดแคลนวิตามินดี ( 25(OH)D < 10 ng/ml ) สรุป พบความชุกของการพร่องวิตามินดีสูงในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว การตรวจหาระดับวิตามินดีและการให้วิตามินดีเสริมในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นคงต้องการการศึกษาต่อไป
Other Abstract: Background: Previous studies have shown that there is relationship between hypovitaminosis D and cardiovascular diseases including congestive heart failure. Patients with heart failure are likely to have inadequate vitamin D level because of limited sunlight exposure. However, the prevalence of hypovitaminosis D in heart failure patients in Thailand, is not known. Objectives: To determine the prevalence and correlation with severity of hypovitaminosis D in stage C and D heart failure patients. Methods: We prospectively enrolled 80 patients with stage C and D heart failure validated by Framingham criteria. Fasting blood samples were assayed for 25(OH)D level and PTH level. Results: The prevalence of hypovitaminosis D ( 25(OH)D levels < 30 ng/ml ) was 82.4%(66 patients). The mean levels of 25(OH)D was 22.50±8.20 ng/ml, which was below the lower limit of the normal range and lower than that of previously reported healthy individuals (22.50±8.20 vs. 27.04±6.28; p<0.0001). Among these, there was only 1 patient ( 1.2% ) who had vitamin D deficiency ( 25(OH)D levels < 10 ng/ml ). Conclusions: Hypovitaminosis D is highly prevalent among chronic heart failure patients in Thailand. Whether screening and supplement of vitamin D in patients with heart failure will improve symptoms requires further study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16189
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.485
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.485
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_at.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.