Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16236
Title: | ความชุกของภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Prevalence of anxiety, depression and social support among postpartum mothers at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | จุฑามณี เรืองจิตทวีกุล |
Advisors: | เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Decha.L@Chula.ac.th |
Subjects: | ความวิตกกังวล ความซึมเศร้าหลังคลอด |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงพรรณนา ณ. จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแรงสนับสนุนทางสังคมกับภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการเก็บข้อมูลในมารดาหลังคลอดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังคลอดทั้ง มารดาและบุตร ที่มารับบริการด้านสุขภาพที่แผนกผู้ป่วยนอกของแผนกกุมารเวชศาสตร์และหน่วย วางแผนครอบครัว และมีบุตรอายุ 1-3 เดือน ในช่วงวันที่ 1 มกราคม ถึง 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จำนวน 198 ราย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีอายุเฉลี่ย 28.34 ปี ได้มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการคลอดและการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า Hospital Anxiety Depression Scale ฉบับภาษาไทย (Thai – HADS) และแบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม ซึ่งดัดแปลงมาจาก The Personal Resource Questionnaire: PRQ part II ของ Brandt and Weinert ใช้สถิติ t-test และ chi-square เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และใช้สถิติ one-way ANOVA ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัจจัยต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า มารดาหลังคลอดมีความชุกของภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าเท่ากันคือร้อยละ 3.54 โดยภาวะวิตกกังวลมี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขาดแรงสนับสนุนทางสังคม วิธีการคลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และอาชีพที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.05 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัวมีภาวะวิตกกังวลน้อยกว่ารับราชการ / รัฐวิสาหกิจและนักศึกษา วิชาชีพอิสระมีภาวะวิตกกังวลน้อยกว่านักศึกษา ส่วนภาวะซึมเศร้ามี 2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขาดแรงสนับสนุนทางสังคม และลักษณะครอบครัวเดี่ยว มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.05 แรงสนับสนุนทางสังคมกับภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยจากการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า การให้บริการดูแลมารดาหลังคลอด ควรมีการประเมิน ปัญหาภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ทั้งในรายที่ปกติและที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด โดยเฉพาะมารดาที่คลอดบุตรด้วยวิธีการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและ/หรือมารดาที่ มีลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว |
Other Abstract: | The objectives of this cross-sectional, descriptive study were to examine the prevalence of anxiety and depression among postpartum mothers at King Chulalongkorn Memorial Hospital and the association of social support with anxiety and depression among postpartum mothers. This study was conducted from January 1[superscript st], 2008 to February 29[superscript th], 2008. A total of 198 non-complicated postpartum mothers mean age 28.34 years old, 1-3 months who received health promotion service at Pediatric O.P.D. or Family Planning O.P.D. were recruited. Demographic, pregnancy, delivery and breastfeeding data were obtained. Hospital Anxiety Depression Scale (Thai-HADS) and The Personal Resource Questionnaire (PRQ part II) for measuring social support were completed by the participants. Chi-square, t-test and one-way ANOVA were used in the study. The results of this study were as followed: 3.54 % of subjects had anxiety which was equal to those who had depression. Three factors were significantly associated with anxiety which was lack of social support, delivery by caesarean section type and different occupation (p-value < 0.05). The subjects who occupation of commerce/own business were more anxious than government officials and students. Freelances were also less anxious than students. Two factors were significantly associated with depression which was lack of social support and characteristic of nuclear family (p-value < 0.05). Social support was associated with anxiety and depression among postpartum mothers at p-value < 0.01. From the results of this study, it is recommended that postpartum mothers services should be aware of anxiety and depression among normal and complicated postpartum mothers, especially the mothers who had experience caesarean section and /or lived in nuclear family. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16236 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.687 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.687 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
juthamanee_ra.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.